จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา สู่ มหาวิทยาลัยฯ
พ.ศ. 2518 : ก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 เป็นวันที่พระราชบัญญัติ “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” ได้ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพ และศักยภาพ มีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน
พ.ศ. 2531 : เปลี่ยนแปลง สู่ “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”
ในวันที่ 15 กันยายน 2531 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ชื่อใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”
พ.ศ. 2548 : เติบโตสู่ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล”
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมและยกร่างเป็นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 ได้การรวมกลุ่มวิทยาเขตจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ในเขตพื้นที่บางพระ จังหวัดชลบุรี ที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก” คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จัดอยู่ในกลุ่ม ค สถาบันเฉพาะทาง ลักษณะที่ 2(ค2) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีพันธกิจหลัก 4 ด้านตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีพันธกิจด้านการบริหารจัดการ
วิสัยทัศน์
“คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นองค์กรชั้นนำในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ”
พันธกิจ
1) บริหารจัดการสู่องค์กรคุณภาพ
2) ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ
3) พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
4) บริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งและบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้
5) สืบสาน ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเป็นไทย
หลักสูตรและหน่วยงานภายในคณะ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มีพันธกิจหลัก 4 ด้านตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีพันธกิจด้านการบริหารจัดการอีกด้วย โดยแบ่งหน่วยงานภายในคณะเป็น 7 สาขาวิชา 3 หน่วยงานสนับสนุน ดังนี้
สาขาวิชาและหลักสูตร
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ - สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร - สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (ปริญญาโท)
- สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความงาม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม - สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
หน่วยงานสนับสนุน
- ศูนย์บริการวิชาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ศูนย์ทดสอบผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์
- สำนักงานคณบดี
คณะผู้บริหาร
update 17 ต.ค.2566