เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งแรก ดร.ประณต กล่ำสมบูรณ์ เลขานุการและกรรมการชี้แจงให้คณะกรรมการทราบดังนี้
การจัดการความรู้ที่จัดขึ้นในปีนี้เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องกันจากปีที่แล้ว เลขานุการได้สรุปแผน กำหนดการ และวิธีการให้คณะกรรมการ เป็นสรุปของกรรมการการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน ที่ประชุมกันในคราวที่แล้วเกี่ยวกับ
ขั้นตอนการจัดการความรู้และการกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นสำคัญต่องานการเรียนการสอน ซึ่งในตัวประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตของเรา คณะกรรมการมีความเห็นว่าให้กำหนดเป็นประเด็นเดิมจากปีการศึกษา 2556 คือเรื่องการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและได้ตกลงรายละเอียดของกรอบ กำหนดหัวข้อตัวบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็น ที่เกี่ยวข้อง กระจายเป็น 4 ประเด็นด้วยกันคือ 1. การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสอน ที่เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 3.เทคนิคการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และ 4.การแก้และลดปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน รวมถึงการจัดการความเสี่ยงของการเรียน ซึ่งได้กระจายเป็นแผนกิจกรรมทั้งหมดที่จะแสวงหาและดักจับความรู้ทั้งหมด 10 ครั้ง ตามตาราง กิจกรรม learn and share และดักจับความรู้จะสิ้นสุดในวันที่ 2 เม.ย.58 ส่วนในระหว่างทางเนื่องจากเรากำหนดสารบัญการจัดการความรู้ไว้ค่อนข้างชัดเจน โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 หมวดด้วยกัน ซึ่งง่ายต่อประธานในเรื่องของการลงไปในขุมความรู้แล้ว กลั่นกรอง เป็นแก่นความรู้สำหรับคณะของเรา หน้าที่ของกรรมการทุกท่านก็คือปล่อยประสบการณ์จากการทำงานการเรียนการสอนของท่านออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตามประเด็นที่เรากำหนดในตารางมา ส่วนทางเลขาจะมีหน้าที่บันทึกเก็บเป็นขุมความรู้ของท่าน เก็บออกเป็นภาษาอาจจะดังเดิมของท่านจะไม่ไปปรับอะไร จากนั้นจะเกลา ให้เป็นภาษาที่สละสลวยขึ้น สุดท้ายจะเป็นหน้าที่ของประธานกรรมการ ที่จะกลั่นกรองออกมาเป็นแก่นความรู้ สำหรับเผยแพร่ และตกทอดภายในองค์กรของเรา
สำหรับคราวนี้เป็นครั้งแรกที่เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงขอเรียนกรรมการให้ทราบถึงสิ่งที่ดำเนินการไปแล้วและระเบียบวิธีปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สักเล็กน้อย คือ อ.ปวีณาได้เปิดเฟสบุคกลุ่มชื่อการจัดการความรู้ คณะวิทย์ มทร.ตอ. ถ้ามีการเคลื่อนไหวของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก็จะเป็นอีกเวทีที่สามารถ learn and share ในเวออนไลน์ได้ ทำนองเดียวกันก็ได้สร้าง KM blog เพื่อให้กรรมการ CEO หรือคณะกรรมการการจัดการความรู้ของมหาลัยได้ติดตามในส่วนของหน่วยงานย่อยทุกหน่วยงาน ใน
ประเด็นที่เราจะแลกเปลี่ยนกันวันนี้เป็นครั้งแรกในประเด็นความรู้เรื่องกลยุทธ์ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสอน ขอชี้แจงระเบียบปฏิบัติให้ทราบเป็นเบื้องต้นก่อน การเล่านั้นให้กรรมการแต่ละท่านถ่ายทอดประสพการของตนเองคนละ 5 นาที โดยมี อ.วิจิตร์จะเป็นผู้รักษาเวลาโดยใช้ป้ายบอกเวลา จะยกป้ายบอกอาจารย์ 4 นาทีแรกกับป้าย 5 นาที นั่นหมายถึงว่า อาจารย์ได้เล่าครบตามเวลาของอาจารย์แล้ว
การจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน
การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
อ.สกุลชาย สาระมาศ
ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน หรืองานนักศึกษาเป็นคนคิดขึ้นมามีการมอบหมายงาน ไม่ว่าจะเป็นโปรเจคหรือรายงาน นักศึกษาไม่ค่อยชอบงานแบบนี้เท่าไหร่ส่วนใหญ่นักศึกษามักค้นหาจากอินเตอร์เน็ต หรืออาจซักถามจากอาจารย์ท่านอื่น หรือค้นความที่จะหาเองหรือหาโปรเจคที่นักศึกษาสนใจ เพื่อเอามาเป็นแนวทางในการสอน
อ.สุธีรา อานามวงษ์
ปกตินักศึกษาในชั้นเรียนมีจำนวนค่อนข้างน้อย ลักษณะวิชาเป็นวิชาบรรยายไม่มีปฏิบัติการ กลยุทธ์เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมเริ่มจากการขั้นตอนการเช็คชื่อที่ทำคือเมื่อขานชื่อผู้ใดให้ร้องเฮ เพื่อปลุกให้ตื่นตัว การสอนจะมีการถามตอบ หากมีนักศึกษาที่ไม่สนใจบทเรียนจะให้ออกมาหน้าชั้นสอนเพื่อนหากสอนไม่ได้ก็ให้เพื่อนออกมาช่วยสอนทั้งนี้เพื่อความตื่นตัวของนักศึกษาเอง มีการ surprised Quiz คำถามสั้นๆระหว่างการเรียน บางครั้งจากการสอนวิชาจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม หากนักศึกษามีพื้นฐานไม่เพียงพอจะเพิ่มการเรียนแบบ role play โดยสมมุติตัวเองเป็นจุลินทรีย์ต่างๆและออกมาเล่าให้เพื่อนฟัง
อ.ปราณี นิมิบุตร
การให้นักศึกษามีส่วนร่วมการเรียนการสอนบรรยายคือมอบหมายงานกลุ่ม เป็นหัวข้อและออกมาอภิปรายแล้วเล่าสู่ให้เพื่อนฟัง นักศึกษามีการถามตอบ ส่วนบทเรียนที่เป็นปฏิบัติการให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน
อ.ระวิน สืบค้า
แต่ก่อนไม่ต้องใช้กลยุทธ์ แต่ต่อไปต้องใช้กลยุทธ์เพิ่มเติม
– กลยุทธ์สร้างแรงบันดาลใจ ปรากฏมีนักศึกษาบางกลุ่มที่เล่นโทรศัพท์ในชั้นเรียน ก็จะใช้การเล่านิทานให้ฟัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับรุ่นพี่ที่เคยสอนได้เอาโทรศัพท์เข้ามาในห้องซึ่งผลทำให้ได้คะแนนสอบน้อย เป็นต้น
– กลยุทธ์กำจัดจุดอ่อน
ใช้กับนักศึกษาที่ไม่สนใจเรียน โดยเมื่อผู้สอนจับได้แล้ว จะซักถามเพื่อให้ตื่นตัวและติดตามพฤติกรรมของผู้เรียนสม่ำเสมอ ใช้การซักถาม เพื่อให้ผู้เรียนก็กระตือรือร้นมากขึ้น
อ.ศรีมา แจ้คำ
ก่อนเริ่มการเรียนการสอนจะแจกเอกสารที่ใช้ทั้งหมดและย้ำให้นักศึกษาไปอ่านก่อน เวลาสำหรับการสอน 3 ชั่วโมง จะแบ่งไว้ 1 ชั่วโมง เพื่อมอบหมายงานให้นักศึกษาช่วยกันทำงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด คาดหวังแก้ปัญหาในการสอบหากทำงานมอบหมายได้เสร็จทุกครั้งปัญหาการสอบไม่ผ่านก็ลดลง แล้วนำเสนอหน้าชั้นระยะแรกนักศึกษาอาจจะไม่กล้าครั้งต่อไปก็กล้ามากขึ้น
อ.สินทรัพย์ แซ่แต้
ปัญหาของวิชาคณิตศาสตร์คือผู้เรียนจะนำความรู้จากวิชานี้ไปใช้ทำอะไร เรื่องที่สอนจะใช้ทำอะไรได้บ้าง วิชาที่สอนลักษณะเป็นวิชาบรรยายล้วนการสอนให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนใช้การตั้งคำถามในชั้นเรียน ช่วยกันคิด ช่วยกันตอบ การสร้างคำถามก็ตั้งให้ตรงกับการนำไปใช้ในแต่ละสาขาวิชาในส่วนของการสอนคือจะบอกถึงตัวแปรของแต่ละสาขาว่าเป็นตัวแปรอะไร ในวิชาจะมีใบงาน ให้ทำโจทย์แบบฝึกหัด และนำมาตรวจร่วมกันว่านักศึกษาจะมีปัญหาอะไร เมื่อเด็กไม่มีปัญหาก็จะใช้ตรวจการบ้านของเด็ก
อีกกรณีเป็นการสอนวิชาศึกษาทั่วไป ให้ใช้การสืบค้นในหัวข้อที่ตนเองสนใจและสอดคล้องกับหัวข้อให้นำสู่การนำเสนอหน้าชั้น แล้วให้เพื่อนในชั้นเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและสะท้อนคุณภาพของเรื่องราวและการนำเสนอ และเสนอแนะการพัฒนา
อ.ประณต กล่ำสมบูรณ์
ยกตัวอย่างวิชาศึกษาทั่วไป STEL บทที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือความหลากหลายทางชีวภาพ วิธีการกำหนดเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วม ผู้สอนกำหนดประเด็นเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ เพื่อเป็นการบูรณาการกับพันธกิจด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เกี่ยวเนื่องกับสถาบันมีความเด่นเรื่องบัวด้วยผลงานของ ผศ. ณ นพชัย ชาญศิลป์ ผู้สอนก็โยงพันธกิจการสอนกับการอนุรักษ์ไปที่ความรู้เรื่องบัว การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแยกเป็นประเด็นๆ ได้แก่ประเด็นที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสถานีบัวและบัวโดยนักศึกษาเป็นผู้กำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ วัตถุประสงค์เอง ภาคเรียนที่ผ่านมาเป็นเรื่อง ชนิดบัว การใช้ประโยชน์จากบัว รู้จักมังคลอุบล การอนุรักษ์บัว ประเด็นที่ 2นักศึกษาเป็นผู้กำหนดกิจกรรมหลังจากเข้าไปศึกษาจากสถานีบัวแล้ว บรรยายเรื่องบัวโดยให้นักศึกษาเข้าฟัง ภาคเรียนที่ผ่านมา ผู้เรียนกำหนดกิจกรรมเป็นประกวดภาพด้วยโทรศัพท์มือถือหัวข้อ ความประทับใจจากสถานีบัว กติกาการส่งภาพ การตัดสิน คณะกรรมการตัดสิน กำหนดโดยนักศึกษา อีกหนึ่งตัวอย่างในเนื้อหาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติหลังจากการให้ความรู้แก่นักศึกษาแล้วเพื่อนักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมได้ให้นักศึกษาการกำหนดว่าจะทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้อย่างไร เช่น นักศึกษากำหนดเป็นการเรียนรู้จักพืช จึงกำหนดเป็นกิจกรรมจากรากถึงยอด กำหนดแบ่งกันเรียนรู้อย่างละเอียด และเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากพืชนั้นๆ แล้วผลัดกันเป็นวิทยากรนำเสนอ
อ.ศุภฤกษ์ กุลปภังกร
การแบ่งกลุ่มนักศึกษา กิจกรรมที่จัดไว้คือต้องการสร้างคนเป็นมนุษย์
– ส่วนมากให้เด็กมีส่วนร่วมกิจกรรมแทบทุกคาบเรียน ช่วงแรกบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องการเรียน มีการโยนหัวข้อ(ใช้กลยุทธ์คล้าย อ.ระวิน) ให้มีการตอบคำถาม มีการตั้งหัวข้อให้เด็กเข้าไปค้นความ นำเสนอหน้าห้องเพื่อให้มีความกล้าแสดงออก ส่วนมากเป็นเด็กปี 1 ส่วน 3 4 จะกล้ามากกว่าปี 1
– นักศึกษามีโอกาสทำโครงการ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยมีการทำโครงการ มีการนำเสนอในรูป VDO และมีใบงานเปรียบเสมือนแบบสอน
– เด็กมีส่วนร่วมทุกกลุ่ม ในแต่ละหัวข้อและมีการนำเสนอหน้าชั้น
อ. วิจิตร์ วิโสรัมย์
มอบหมายเป็นหัวข้อการสืบค้นและทำรายงาน นำเสนอให้ไปค้นคว้าทำรายงานเป็นกลุ่ม และงานเดี่ยวจะมีงานที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนชีวิตประจำวันกับชีววิทยา ตามสื่อโฆษณาเพื่อให้เห็นบรรยากาศวิชาการที่อยู่รอบตัว เช่น การโฆษณาแพนทีน แล้วนำมาเล่าสู่เพื่อนร่วมชั้นฟัง ตอบข้อซักถามของเพื่อนร่วมวิจารณ์ฯลฯ (มีเรื่องการซักถาม มีส่วนร่วมในการเรียน)ในห้องปฏิบัติ นอกจากมีการสรุปและส่งงานชั่วโมงต่อไป มีการสุ่มให้ผู้เรียนวิจารณ์ และสรุปผลการทดลอง ให้เพื่อนฟัง พร้อมด้วยวิจารณ์ผลที่ผู้เรียนผู้นั้น กลุ่มนั้นสรุป
อ.จินตนา เพชรมณีโชติ
มีส่วนร่วมมอบหมายงานในเรื่องจุลชีววิทยาในชีวิตประจำวัน ค้นคว้าทำรายงาน ได้รับมอบหัวข้อกว้างๆ มีเรื่องจุลินทรีย์มีประโยชน์ โทษ ที่เกี่ยวข้อง และแบ่งกลุ่มทำรายงานนำเสนอ
อ.กฤษดา สมิตะสิริ
แบ็คกราวของวิชาจุลชีววิทยาเป็นวิชาที่มีทฤษฎีและปฏิบัติการการจะกลยุทธ์ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงเรื่องสัดส่วนการวัดผลประเมินผล วิชานี้แบ่งส่วนการวัดผลไว้สองส่วนคือการเข้าเรียน กับส่วนการเข้าสอบ สัดส่วน อีกส่วนคะแนนเก็บระหว่างภาคเรียน มีบางส่วนที่นักศึกษาเข้าไปเกี่ยวข้องได้และเกี่นไม่ได้
- คุณธรรม จริยธรรม
- ความรู้
- ทักษะปัญญา
- ทักษะทางตัวเลข
- ทักษะด้านการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2-3 นักศึกษาแตะไม่ได้ 1 นักศึกษามีส่วนร่วมได้ วึ่งในการวัดจากจิตพิสัย ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน จิตอาสาแต่เท่าที่ทำอยู่ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดกรอบกว้างแล้วให้ผู้เรียนลงรายละเอียด ในอนาคตจะเปิดกว้างให้ผู้เรียนกำหนดเองอย่างไรก็ตามข้อเสนอของผู้เรียนต้องผ่านการพิจารณาจากผู้สอนด้วยทักษะด้านการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อีกส่วนเป็นงานมอบหมายให้ผู้เรียนค้นคว้า และทำรายงานที่สามารถนำมาประเมินเรื่องการสื่อสารการใช้ภาษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอสะท้อนทักษะด้านการสื่อสารและใช้สื่อสารสนเทศ และสะท้อนการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
อ.ลมภูริพล สรสุพิสิฐกุล
วิชาเทคโนโลยีขนมอบ นักศึกษามีการเข้าร่วมกิจกรรมบ่อยครั้งทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ภาคปฏิบัติเรียนวันศุกร์กำหนดให้เข้าห้องปฏิบัติการตรงเวลา 8.00 น. เข้าเรียนหลัง 08.15 คือเป็นสาย ถ้าสายเกิน 3 ครั้ง ถือเป็น ขาด 1 ครั้ง ในภาคปฏิบัติให้เรียนรู้การทำขนม โดยแต่ละกลุ่มต้องตั้งโจทย์ เรียนรู้และลงมือทำเอง โดยขอคำปรึกษาจากผู้สอนได้ระหว่างปฏิบัติการจะมีการสอบถามจากผู้สอนและให้ผู้เรียนจดบันทึกสรุปการทำขนม เขียนเป็นรายงาน โดยมีเงื่อนไขกำหนดส่งใน 8.00 น. ของวันจันทร์ถ้าเลยเวลา ให้หมดสิทธิ์ส่ง
อ.สุกัลยา ชาญสมร
มีกลยุทธ์การค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต มีกลยุทธ์คล้ายกับทุกท่าน มีเพิ่มเติมขึ้นมาคือการกำหนดหัวข้อเรียนในสัปดาห์ต่อไปผู้เรียนจะเรียนรู้ในหัวข้ออะไรโดยให้นศ.มีส่วนร่วมโดยให้แต่ละคนค้นคว้าแล้วโพสต์ลงเฟสบุ๊กผู้เรียนทั้งหมดจะพิจารณาแล้วคัดเลือกหัวข้อที่โพสต์ไว้ ผู้เสนอหัวข้อที่ได้รับเลือกมากที่สุดจะเป็นผู้นำเสนอให้เพื่อนๆและตอบคำถาม