การจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน
วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
อ.ปราณี นิมิบุตร
เน้นเรื่องการปูนิสัยประจำวันการตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ไม่ขาด ไม่สาย ถ้าขาดเรียนต้องมีใบลา ส่วนความซื่อสัตย์ในการทำงานต้องส่งตรงเวลาทำเองไม่ลอกเพื่อน ผิดหรือทำไม่ได้ไม่เป็นไรให้ทำมาส่งให้ตรวจเพื่อผู้สอนจะได้ทราบว่าไม่เข้าใจตรงไหน แต่อย่าลอกเพื่อน ในการสอบก็ไม่ให้ลอกกัน ข้อสอบที่เป็นสูตรคำนวณยากๆ ก็จะให้เข้าสูตรเข้าไปได้
อ.สุธีรา อานามวงษ์
การประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรมนั้นสามารถประเมินได้สองทางคือผู้สอนประเมินผู้เรียนกับผู้เรียนประเมินตนเองปกติที่ทำอยู่เป็นการประเมินเป็นแบบทางเดียว คือผู้สอนประเมินผู้เรียน ประเมินจากตรงต่อเวลาใช้การเช็คชื่อตามใบรายชื่อ การรับผิดชอบในห้องเรียน การทำงานกลุ่มประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำงานให้สำเร็จและคุณภาพของงานกลุ่ม เน้นว่าห้ามลอกงานมาส่งหากพบว่าลอกมาให้ทำใหม่ ปูพื้นนิสัยความซื่อสัตย์เคารพ ไม่ขโมยผลงานด้วยการให้อ้างอิง หากไม่มี จะตัดคะแนน แหล่งที่มา กำหนดน้ำหนักไว้ 5%เพราะค่อนข้างวัดยาก
ประเด็นที่วัดก็เพียง ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบส่วนรวม และส่วนตัว
อ.ประณต กล่ำสมบูรณ์
การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้พิจารณาจากที่ได้รับมอบหมายตามแผนที่การกระจายความรับผิดชอบแล้วจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับที่มอบหมาย ปกติวิชาในหมวดพื้นฐานรับผิดชอบผลการเรียนรู้ด้านนี้ 2 ประเด็น คือความซื่อสัตย์ต่อตนเองกับจิตสาธารณะ ด้านความซื่อสัตย์ต่อตนเองวัดจากนิสัยทั่วไป ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน ความตรงต่อเวลา รับผิดชอบตรงต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม สังเกตจากการทำงานกลุ่ม และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการประเมินคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาตนเองลดนิสัยไม่ดีเพิ่มนิสัยดีให้กับตนเองด้วยการทำบันทึกความดีเป็นรายวัน และเปิดโอกาสได้ฟังเสียงสะท้อนจากรอบข้างในโอกาสที่ประเมินงานมอบหมายกลุ่มใช้หลักว่านอกจากผู้สอนจะเป็นผู้ประเมิน นักศึกษาด้วยกันได้มองเห็นคุณธรรมจริยธรรมของกันและกันด้วยการประชุมโต๊ะกลมของสมาชิกกลุ่มเพื่อประเมินคุณภาพคุณธรรมของสมาชิกกลุ่มเป็นรายคนด้วยประเด็นหลัก คือ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม กับคุณภาพการเข้าสังคม
เรื่องจิตสาธารณะ ให้เด็กทำกิจกรรมจิตสาธารณะตามการตกลงกันของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เรื่องการกำหนดลักษณะกิจกรรมและตัวชี้วัดกิจกรรมตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกโดยกำหนดให้เป็น 30 ชั่วโมง/คน การกำหนดรูปแบบกิจกรรมบันทึกกิจกรรมเกิดจากการวางแผนของนศ.เองมีผู้รับชอบเป็นประธาน รองประธาน เลขานุการเก็บรวบรวมรายงานผู้สอน
อ.กฤษดา สมิตะสิริ
ตามมคอ.3 การประเมินแบ่งเป็นสองส่วนส่วนหนึ่งมาจากข้อสอบ 60% สอบสามครั้งอีกส่วนหนึ่งคือจิตพิสัย ด้านคุณธรรมจริยธรรมแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งวัดจากความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน อีกส่วนเป็นคะแนนงานมอบหมาย
คะแนนจิตพิสัย 10 % ความสม่ำเสมอเช็คจากการเข้าชั้นเรียน วัดจากการเช็คชื่อ ความสม่ำเสมอ ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีระเบียบวินัย การแต่งกาย ที่ตกลงกับผู้เรียนชัดเจน ความซื่อสัตย์ประเด็นการลอกผลงาน เป็นอันยอมรับว่าผู้เรียนลอกกัน แต่ตั้งว่าจะลอกกันตลอดชีวิต อย่างไรการวัดผลจึงแบ่งออกเป็น2ส่วนคือคะแนนรายงานกับคะแนนผลงานจะเป็นความละเอียดและคุณภาพเฉพาะ
- งานมอบหมายงาน 5% กำหนดให้ทำกิจกรรม เรื่องจิตสาธารณะ การทำบุญตักบาตร ในวันพ่อ
ที่สาขาวิทย์-คณิตร่วมกับชมรมพุทธศาสน์ จัดขึ้น วันที่ 5 ธันวาคม
ขอเสนอไว้ด้วยว่าลักษณะคุณธรรมจริยธรรมนั้นบางเรื่องไม่สามารถตัดสินเป็นระดับคะแนนได้ การประเมินอาจเป็นเกณฑ์ผ่าน หรือไม่ผ่าน
อ.สินทรัพย์ แซ่แต้
กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินกับผู้เรียนตั้งแต่แรก กำหนดประเด็นคุณธรรมจริยธรรม มอบหมายให้รับผิดชอบทำกิจกรรมจิตสาธารณะตามเกณฑ์เขียนเป็นรายงานและคอยติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ
กำหนดกติกาการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน นิยามการเข้าชั้นเรียนปกติ สาย ขาด ที่ชัดเจนใช้วิธี ขีดเส้นใต้สายแบ่งระหว่างเข้าชั้นเรียน กับเข้าชั้นเรียนสาย กรณีที่มีมาสายหรือขาดเรียนซ้ำๆ จะติดตามให้พัฒนาเป็นรายคน เป็นการวัดเพื่อการ พัฒนา หากมีการพัฒนาจะได้คะแนนเพิ่มให้
- การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน ถ้าไม่เข้าหรือการเข้าสาย ถ้าสายจะมีการขีดเส้นใต้สีแดง ถ้ามีรายวิชาเรียนก่อนหน้าจะอนุโลมให้ ถ้านักศึกษาเข้าเรียนสายบ่อยๆ จะมีวิธีการควบคุย คือคุยกัน และถ้าเค้าดีขึ้นก็จะมีคะแนนบวกเพิ่มเติม
อ.ระวิน สืบค้า
พิจารณาตามTQFที่มีอยู่ 4 ประเด็น 2 ประเด็นแรกบางประเด็นชัดเจนชัดเจนวัดผลได้กำหนดน้ำหนักให้เป็น 10 % ประเด็นที่ 1 นิสัย ประพฤติอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม ประเมินจากน้ำใจ ให้คำชมเชย เพื่อปลูกฝังนิสัย และให้ผู้อื่นดูเป็นตัวอย่าง 2. ความรับผิดชอบส่วนตัวและส่วนรวม ส่วนนี้สังเกตที่พฤติกรรมด้านจิตอาสา ความรับผิดชอบทั้งส่วนตัวส่วนรวม การเข้าชั้นเรียน
จะใช้จากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน ความมีน้ำใจ ความรับผิดชอบทั้งส่วนตัวและส่วนรวม การไม่เข้าสาย การส่งงานตรงเวลา
2 ประเด็นหลัง ยากและประเมินเป็นคะแนนลำบากได้แก่
- ความสามารถในการปรับชีวิตให้เข้ากับการขัดแย้งค่านิยม เช่นการแต่งตัวที่สมัยนิยมกับเครื่องแบบที่ห่างไกลกัน ค่านิยมทางวัตถุ ประเด็นนี้ประเมินยาก 4.พัฒนานิสัยความประพฤติอย่างมีศีลธรรม ส่วนใหญ่ประเมินจากกริยา เคารพนบนอบ การวางตนตามขนบธรรมเนียม
อ.ศรีมา แจ้คำ
การวัดผลทางคุณธรรมจริยธรรมบางครั้งเป็นสิ่งที่วัดยาก ส่วนที่วัด
มี 2 ส่วนคือเวลาเรียนกำหนดเป็นกรอบกว้างๆคือ 80%ของเวลา
- ความซื่อสัตย์ วัดจากการสอบ ใช้การให้เกียรติคือให้นั่งทำข้อสอบโดยไม่มีการคุม แต่นั่งมองห่างๆ
อ.สายใจ จริยเอกภาส
รายวิชาวัดคุณธรรมจริยธรรมใช้วัดจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน แบ่งวัดสองครั้ง กลางภาค และปลายภาค ส่วนละ 5%วิธีการคือให้ผู้เรียนลงชื่อเข้าชั้น ผู้สอนจะแบ่งกลุ่มออกเป็นผู้เข้าชั้นเรียนตรงเวลากับเข้าชั้นเรียนสาย ก่อนกลางภาค จะตัดสินระดับคะแนนแจ้งให้ผู้เรียนทราบเพื่อให้และปรับปรุงตัว ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ฝึกด้วยการให้เขียนรายงานด้วยลายมือตนเอง การเข้าชั้นเรียนปฏิบัติการใส่เครื่องแบบมีเสื้อกราวด์เป็นวัฒนธรรม มารยาทในการเรียนปฏิบัติการที่มีตัวอย่างเป็นอาหารที่กินได้ สอนให้รู้มารยาท และเป็นสิ่งไม่บังควรกระทำ หากปล่อยละเลยจะติดเป็นนิสัยไปจนทำงาน การใช้ภาษาพูดให้ระวังการใช้หลีกเลี่ยงภาษาที่ไม่สุภาพ ใช้การชมเชยเพื่อปลูกฝัง ท้ายชั่วโมงจะมีการประกาศให้คะแนนพิสวาสกับผู้ช่วยเหลือเก็บข้าวของล้าง เช็ดถูจัดห้องเรียน
อ.ณัฐธยาณ์ รุจิราธนาพัฒน์
การเช็คชื่อใช้วิธีสุ่มเช็ค การเช็คเพื่อประเมินวินัย ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนเพิ่มการฝึกความซื่อสัตย์โดยให้เซ็นชื่อเอง พบการเซ็นชื่อแทน ก็ใช้เป็นประเด็นอบรมสั่งสอนโดยตรง หรือใช้เทคนิคสั่งสอนโดยอ้อมเพื่อชี้ให้ปรับปรุงระดับคุณธรรมจริยธรรม ก็พบว่ามีพัฒนาการ จิตสาธารณะ ให้งานเป็นกลุ่มแต่งตั้งกรรมการกลุ่ม การประเมินส่วนหนึ่งผู้สอนเป็นผู้ประเมิน อีกส่วนให้ประเมินกันเองในกลุ่มกันเอง การ รายงานใช้วิธีให้เขียน และห้ามลอกไม่ได้ผล ใช้วิธีลดการลอกงานด้วยการกำหนดจำนวนชุดต้นฉบับ จำนวนซ้ำของรายงาน
อ.สกุลชาย สาระมาศ
การประเมินแบ่งการประเมินเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน คือกลางภาคกับปลายภาค เอาคะแนนมากระตุ้นให้เกิดการพัฒนา ส่วนด้านคุณธรรมจริยธรรมคิดเป็นร้อยละ 10 ความซื่อสัตย์ฝึกจากการทำรายงานต้องการให้จับกลุ่มช่วยกันคิดแม้ป็นงานเดี่ยวก็ให้ช่วยการคิดเพื่อลดการลอก ให้เขียน ไม่ให้พิมพ์ ส่วนการประเมินคุณธรรมจริยธรรมจากความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน วิธีการเช็คเป็นแบบสุ่ม จะไม่เช็คทุกคาบ สังเกตดูว่าใครบ้างที่มาหรือขาดเรียนบ่อย เป็น ตอบแทนผู้ไม่เข้าเรียนด้วยการไม่ได้ส่งงานที่มอบในชั้นเรียน หรือไม่ได้คะแนนทดสอบในบทเรียน
อ. ศุภฤกษ์ กุลปภังกร
วิชา stel ลักษณะการสอน ใช้กิจกรรมกลุ่มเป็นหลัก มีระดับคะแนนคุณธรรมจริยธรรมค่อนข้างสูง โดยประเมินตลอดเทอม ลักษณะวิชาให้นักศึกษาจับกลุ่มทำกิจกรรมทุกครั้ง สุดท้ายให้นักศึกษา
ประเมินคุณธรรมจริยธรรมของตนเองในการทำงานกลุ่ม แรกๆผู้เรียนอาจมีประเมินไม่ตรงตามจริงประเมินให้คะแนนตัวเอง พัฒนาการที่พบคือนักศึกษาประเมินตรงตามเป็นจริงมากขึ้น ใช้หลัก PDCA ให้ผู้เรียนบันทึกคุณธรรมจริยธรรมของตัวเอง ทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ให้ผู้เรียนเช็ค ตัวเองและปรับปรุงตัวเองประเมินตามแบบประเมินว่า มีพัฒนาขึ้นในด้านใดมากตรงไหนบ้าง
- ด้านการตรงต่อเวลาการเข้าชั้นเรียนเน้นความตรงต่อเวลา จัดวางระบบไว้ชัดเจน คือมาสายได้ 15 นาที หลัง นั้นต้องเซ็นชื่อใต้เส้นแดง ระหว่างคาบมีการเบรก แรกๆพบมีผู้เรียนไม่กลับเข้ามา การแก้ไขกรณีนี้ด้วยการจัดกลุ่มให้แลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่มและนำเสนอหลังช่วงพัก
- พฤติกรรมในห้องเรียนระหว่างที่ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมกลุ่ม ผู้สอนสังเกตการมีส่วนร่วมของผู้เรียนแต่ละคน หากพบผู้เรียนที่ไม่ความร่วมมือจะตักเตือน
- ให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่นการใช้องค์กร csr ที่เป็นองค์กรที่รับชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นโจทย์แล้วตั้งโจทย์ให้ผู้เรียนระดมสมองกันภายในกลุ่มว่าเมื่อเรียนจบได้ทำงานในองค์กร ผู้เรียนจะทำอะไรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนขององค์กรให้เป็น csr ที่สมบูรณ์
- กิจกรรมจิตสาธารณะ มอบหมายให้นักศึกษาออกแบบกิจกรรมเอง เช่น ทำความสะอาดสถานที่ ทาสีบริเวณหอใน จัดสวน ให้เวลา 2 เดือน ในการทำกิจกรรมให้สมบูรณ์ สรุปเป็นรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
กลั่นกรอง
1จัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องตามแผนที่การกระจายความรับผิดชอบ
2.กำหนดน้ำหนักและชี้แจงตกลงเรื่องผลสัมฤทธิ์และการประเมินกับผู้เรียนชัดเจน
3.ด้านความซื่อสัตย์ต่อตนเองวัดจากนิสัยทั่วไป ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน ความตรงต่อเวลา รับผิดชอบตรงต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ฝึกด้วยการให้เขียนรายงานด้วยลายมือตนเอง
4.พัฒนาตนเองนิสัยให้กับตนเองด้วยการทำบันทึกความดีป็นรายวัน
5.ประเมินคุณภาพคุณธรรมโดยสมาชิกกลุ่มประเมินกันเองเป็นรายคน
6.กำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดกิจกรรมตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เช่นจิตสาธารณะ ให้เด็กทำกิจกรรมจิตสาธารณะตามการตกลงของสาขาวิชาและกำหนดตัวชี้วัดกิจกรรมตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในภายนอก
7.แบ่งการประเมินเป็นสองครั้งคือ กลางภาค และปลายภาค ส่วนละ 5% เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้ระดับผลการประเมินและได้ปรับปรุงตัวเอง