ครั้งที่ 3 วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ด้านองค์ความรู้ วันที่ 18 ธันวาคม 2557

อ. วิจิตร์ วิโสรัมย์
สำหรับเรื่องการพัฒนาด้านความรู้ วัดจากคะแนนจากการสอบที่วัดความรู้ การประยุกต์ มีการวัดก่อนสอบกลางภาค เพื่อให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และเพื่อให้ผู้สอนปรับกลยุทธ์การสอนและการวัดผล สอบกลางภาค หลังสอบกลางภาคและปลายภาค ประมาณ 70 % การสอบจะวัดผลเกี่ยวข้องกับทักษะด้านอื่นๆด้วยได้แก่ ความรู้ ทักษะด้านปัญญา ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม สามารถประยุกต์รวมกัน

อ.จินตนา เพชรมณีโชติ
การวัดความรู้จะเป็น 70% แบ่งเป็นสอบกลางภาค 30% ระหว่างภาค 10% ปลายภาค 30% ส่วนที่เป็นคะแนนงานที่มอบหมาย 20% เป็นงานที่ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอ จิตพิสัย 10%

อ.สุธีรา อานามวงษ์
การวัดความรู้จะวัดว่าผู้เรียนได้อะไรมาจากการเล่าเรียนบ้าง การวัดจะวัดทั้งผู้เรียนและผู้สอน
ว่าผู้เรียนรู้เรื่องหรือไม่ และวัดว่าผู้สอนสอนได้ดีหรือไม่ โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อวัดว่าสอนแล้วเข้าใจมากขึ้นหรือไม่ พบหัวข้อใดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจก็สอนเพิ่ม การออกแบบข้อสอบหากเป็นบรรยายที่ผู้เรียนจะทำบ้างไม่ทำบ้าง ก็เปลี่ยนเป็นแบบ 4 ตัวเลือกหรือเติมคำ สร้างข้อสอบที่หลากหลายมากขึ้น

อ.สินทรัพย์ แซ่แต้
การวัดความรู้จะเน้นเรื่องการสอบเป็นหลัก ที่แตกต่างคือจะตั้งคะแนนเต็มที่เกิน 100% อย่างที่กำหนดสัดส่วนในการสอบไว้ 70% จะทำข้อสอบที่มีคะแนนเต็มเกินไว้เป็น 80% ข้อสอบกระจายครบหัวข้อ กันนักศึกษาพลาดไม่ได้อ่านมา ข้อสอบออกแบบโจทย์หลากหลายแบบ เช่นคำถามที่ต้องการคำตอบสั้น คำถามที่ต้องการการตอบแบบบรรยาย

อ.กฤษดา สมิตะสิริ
วัดผลประเมินผลทางด้านความรู้ ในวิชาจะมีทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ใน 100% จะมี 10% ที่ไม่ได้วัดความรู้ คือเรื่องจิตพิสัย ความสม่ำเสมอ การเข้าชั้นเรียน ส่วนที่วัดความรู้ได้จะมี 90% คือ ข้อสอบ สอบ 3 ครั้ง 60% คือ กลางภาค 25% ระหว่างภาคหรือสอบย่อย 10% ปลายภาค 25% แนวข้อสอบจะมี 3 แบบคือ ปรนัย 5 ตัวเลือก ข้อสอบจับคู่ สำหรับข้อสอบปรนัยข้อสอบจับคู่ขอสงวนสิทธิ์ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยอนุญาตให้นักศึกษาใช้ภาษาไทยได้ แต่ต้องเขียนให้ถูกต้องตามหลัก น้ำหนักคะแนนที่แบ่ง จะพยายามแบ่ง 3 ส่วนนี้เท่าๆกันนี่คือส่วนของข้อสอบ สำหรับในส่วนของผลงานอีก 30% รายงานปฏิบัติการ 25% ซึ่งสามารถวัดได้ว่านักศึกเขียนรายงานเป็นหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ 12.5% อีกส่วนหนึ่งคือส่วนของผลการปฏิบัติ 12.5% อีก 5% คืองานทีได้รับมอบหมาย และขอ ให้อ.จินตนา พูดถึงรายละเอียดในส่วนของปฏิบัติการ 1 หน่วยกิต

อ.จินตนา เพชรมณีโชติ
จะมีส่วนที่เป็นปฏิบัติการจุลชีววิทยา คือเป็นวิชาที่แยกออกมา จุลชีววิทยา 3 หน่วยกิต และปฏิบัติการจุลชีววิทยา 1 หน่วยกิต ส่วนวิชาปฏิบัติการจุลชีววิทยาจะวัดความรู้จะมีเป็นคะแนนสอบ ส่วนใหญ่จะเน้นทางปฏิบัติ ทั้งหมด 100% สอบ 25% (กลางภาค 10% ระหว่างภาค 5% ปลายภาค 10%) รายงาน 70% จะเป็นรายงานผลการปฏิบัติการ เล่มรายงาน 25% ประสิทธิภาพในการทดลอง 25% ทักษะปฏิบัติการ 10% งานมอบหมาย 10% คะแนนจิตพิสัย 5%

อ. ประณต กล่ำสมบูรณ์
วิชาสัตววิทยา จะแบ่งคะแนนชัดเจนคือคะแนนจิตพิสัยที่จะมีการกำหนดกิจกรรมและวิธีการวัดผลชัดเจน ในส่วนนี้ คิด 10% ส่วนที่เหลือ 90% เป็นส่วนของปฏิบัติการและทฤษฎี ส่วนของปฏิบัติการ แบ่งน้ำหนักไว้30% เรื่องของความรู้จะวัดผลขณะที่เด็กเรียน ซึ่งการวัดผลจะกลั้วไปพร้อมกันทั้งทักษะด้านความรู้ ทักษะด้านปัญญา ทักษะความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและการวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสาร การวัดผลทำไปขณะที่ผู้เรียนเรียนปฏิบัติการการประเมินใช้วิธีสังเกตและการทดสอบ การจัดชั้นเรียนภาคปฏิบัติเป็นเรื่องสำคัญถึงแม้จะมีเครื่องมือพออย่างไร เด็กจะต้องทำงานเป็นกลุ่ม เป็นคู่ ใช้เครื่องมือร่วมกัน ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนระหว่างกัน การกำหนดน้ำหนักจะเกลี่ยเป็นคะแนนของแต่ละทักษะใกล้เคียงกัน ในส่วนทฤษฎี กำหนดน้ำหนักไว้ที่ 60% .ในการสอบจะแยกเนื้อหาออกมาการวัดผลใช้วิธีหลากหลาย บางบทจะเป็นงานมอบหมายประเมินจากคุณภาพงานและการนำเสนอ บางเรื่องมอบหมายให้เป็นงานกลุ่มเป็นการฝึกที่ให้เด็กเรียนรู้ในการสืบค้น มีการวัดในมิติด้านความรู้ คุณธรรมจริยธรรม ทักษะความสัมพันธ์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะทางปัญญา บางบทใช้การสอบข้อเขียน

อ. ศุภฤกษ์ กุลปภังกร
การวัดผลแตกต่างกับวิชาอื่น เนื่องจากเป็นวิชาศึกษาทั่วไปที่มีแนวคิดว่า การเรียนรู้จะต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ของชีวิตมนุษย์และโลกด้วยตนเอง โดยจะวัดประเมินผลด้านความรู้ มุ่งผลสัมฤทธ์และผลลัพธ์ที่เกิดจากผู้เรียน พฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทัศนะคติที่ดีต่อตนเองและโลก วิธีคิดเชิงระบบ หลากมิติและสร้างสรรค์และจิตสำนึกตระหนักรู้ถึงคุณค่าที่แท้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เอาเข้ามาสู่กิจกรรมในการสอนและประเมินความรู้ในห้องเรียน การสอนแต่ละรายสัปดาห์จะแบ่งเป็นหัวข้อ 3 หมวดใหญ่ๆ คือหมวดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมวดสิ่งแวดล้อมและหมวดชีวิต จะมีการสอบทุกสัปดาห์หรือใบงานนั้นเอง วิชานี้ไม่มีการสอบกลางภาค ปลายภาค แต่จะเก็บคะแนนตลอดเทอม เก็บจากหัวข้อสำคัญที่เราสอนอาจจะมาจากยูทูป หรือวิดีโอ จะมีความหลากหลายในช่วงแรก ช่วงกลางจะมีการทำโต๊ะกลมให้เด็กคิดวิเคราะห์ ช่วงท้ายคาบจะให้เด็กนำเสนอในคาบนั้นเลย โดยการนำเสนอจะไม่มีการระบุมาจากกลุ่ม อ.จะเป็นคนระบุ เด็กจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ตลอดทั้งเทอมเด็กจะออกมานำเสนอหน้าชั้นบ่อยมาก อาจจะเป็นงานกลุ่มหรืองานเดี่ยวแล้วแต่เราจะกำหนดให้เด็ก โครงการที่สอนจะสอนในเรื่อง PDCA โดยที่ตัวเด็กทำด้วยและอ.ก็ทำด้วย เด็กจะเรียนรู้จากการวางแผนของเค้า ส่วนของการเก็บคะแนนจะเก็บทางด้านทักษะปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ ส่วนนี้จะเป็นการทำงานกลุ่ม หลักจากที่สอนเสร็จจะมีการบูรณาการองค์ความรู้ให้สัมพันธ์รายวิชา 3 หัวข้อใหญ่ๆโดยที่ให้เด็กเขียนโครงการโดยเรียนรู้จากปัญหาที่ผู้เรียนพบเจอ เช่น ในมหาวิทยาลัย ในหอ ก็คือการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความสุขแบบองค์รวม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต แล้วแต่เด็กจะไปทำในแนวใด คะแนนจะกำหนดไว้ที่ 50% คุณธรรมจริยธรรม 30% ทักษะปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 20%

กลั่นกรอง
1. กำหนดน้ำหนักคะแนน เกณฑ์การวัดผล อย่างชัดเจนในแผนการสอน
2. กำหนดการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิทั้ง 5 ด้าน กำหนดกิจกรรม วิธีการสอน วัดผลสัมฤทธิ์แต่ละด้านตามน้ำหนักคะแนนที่กำหนด