ครั้งที่ 5 วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ด้านด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล วันที่ 22 มกราคม 2558

ารจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557
รายวิชา 0603232 จุลชีววิทยาทั่วไป
วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

ผศ.กฤษดา สมิตะสิริ

วิธีการสอน
– มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม
– กำหนดให้แต่ละกลุ่มมีการวางแผนการทำงาน
– กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละคนในกลุ่มอย่างชัดเจน
ตัวอย่าง เช่น บทปฏิบัติการจุลชีววิทยา บทที่ 5 การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อและวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อ
งานที่มอบหมาย รายงานฉบับสมบูรณ์ พาวเวอร์พอยท์ และการนำเสนอ
วิธีการประเมินผล
ประเมินจากการกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม การจัดระบบ การนำเสนองานที่มอบหมาย และ
การตอบข้อซักถามของอาจารย์ผู้สอนและเพื่อน

อ.ระวิน สืบค้า
– แบ่งกลุ่มค้นคว้าทำรายงาน/มอบหมายงานกลุ่ม โดยกำหนดงาน/หัวข้อย่อยเป็นรายบุคคล ให้มานำเสนอ/เสวนาร่วมกัน
ประเมินการพูดนำเสนอ, การเป็นผู้ฟังที่ดี และการทำเล่มรายงานกลุ่ม

– ในกลุ่มเรียนปฏิบัติการ ให้สลับกันทำรายงานในแต่ละสัปดาห์เพื่อให้นักศึกษาได้ช่วยกันทั้งกลุ่ม
สังเกตและประเมินพฤติกรรมการทำงาน, ซักถามรายงานของแต่ละกลุ่มในชั้นเรียนเพื่อให้ช่วยกันวิเคราะห์และตอบปัญหา

– สร้างกิจกรรมเป็น Term project ให้นักศึกษาจับคู่/จับกลุ่มทำร่วมกัน
ประเมินผลงาน, ความก้าวหน้า และพฤติกรรมการทำงานแบบช่วยเหลือ/ร่วมมือกันในกลุ่ม

ดร.สุธีรา อานามวงษ์
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
1. ความรับผิดชอบในการใช้องค์ความรู้และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้ง รายบุคคลและงานกลุ่ม
2. สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. วางตัวได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4. สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ พัฒนาตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่อง

วิธีการสอน
• จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่น
และบุคคลภายนอกเช่น พาไปช่วยงานโครงการบริการวิชาการของสาขา เข้าร่วมโครงการของคณะ เพื่อให้นักศึกษาได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนต่างคณะ เพื่อนต่างชั้นปี หรือชุมชน
• มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมายเพื่อให้นักศึกษา
ทำงานได้กับผู้อื่นโดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
จับกลุ่มแบบสุ่มให้นักศึกษาโดยการจับฉลาก เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อนคนอื่นๆ อาจมีการแบ่งกลุ่ม 2 คน 3 คน 4 คน ขึ้นกับลักษณะงานและปริมาณงาน
• กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่มอย่างชัดเจน ให้นักศึกษาตั้งสมาชิกในกลุ่มเป็นหัวหน้ากลุ่ม เพื่อคอยติดตามงานและประสานงานกับอาจารย์

ดร.ประณต กล่ำสมบูรณ์
วิธีการสอน
– จัดกลุ่มนศ.แบบคละ
-แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบด้วยการวางตำแหน่ง และความรับผิดชอบ หมุนเวียนตำแหน่งเพื่อฝึกทักษะ การเป็นผู้นำ กับการเป็นผู้ตาม
– มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่มทั้งในเวลาเรียน และนอกเวลาเรียน
– เสนอผลงานกลุ่ม
– ประเมินผลงานกลุ่มโดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยนักศึกษาตัวแทนจากทุกกลุ่ม สัดส่วนเท่าๆกัน
-สะท้อนเพื่อการพัฒนา ประเมินคุณภาพแต่ละบุคคลด้านความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ตัวอย่าง วิชา STEL
วิธีการประเมินผล
ประเมินจากการสังเกตขณะผู้เรียนอยู่ในกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม การจัดระบบ การนำเสนองานที่มอบหมาย และผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากเพื่อนร่วมกลุ่ม

ดร.วิจิตร์ วิโสรัมย์
วิธีการสอน
– มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม โดยกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มอย่างชัดเจน จากการวางแผนการทำงานของกลุ่มร่วมกัน และร่วมกันนำเสนองานที่กลุ่มผิดชอบ
-งานในห้องปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป ในบทปฏิบัติการจะต้องมีการวางแผนเพื่อทำการทดลองหรือบทปฏิบัติการร่วมกัน และมีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันในการศึกษาหรือทดลองและร่วมกันคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาที่เกิดระหว่างทำงานเพื่อจะได้ผลทางวัตถุประสงค์ที่วางไว้

วิธีการประเมินผล
ประเมินจากการกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม การสังเกตพฤติกรรม การตอบคำถาม หรือการถามตอบระหว่างสมาชิกในกลุ่ม หรืออาจารย์ การนำเสนองานที่มอบหมาย และผลงานที่สำเร็จ

อ.จินตนา เพชรมณีโชติ
วิชาจุลชีววิทยา มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ภายในกลุ่มนักศึกษาต้องช่วยกันรับผิดชอบจัดทำรายงานและนำเสนอ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลประเมินได้จากการสังเกต การตอบคำถามของเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนและคำถามจากผู้สอน และจากการประเมินการนำเสนอของนักศึกษาในชั้นเรียนด้วย สำหรับวิชาปฏิบัติการจุลชีววิทยาจะให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2 คน ซึ่งทั้งสองคนจะต้องช่วยกันในการทำการทดลอง ประเมินจากการสังเกต และการถาม-ตอบจากนักศึกษา นอกจากนี้นักศึกษาต้องร่วมรับผิดชอบการใช้โต๊ะปฏิบัติการ การใช้ห้องเรียนร่วมกับศึกษาท่านอื่น ๆ ช่วยกันดูแล ความสะอาด การจัดเก็บสิ่งของ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของส่วนรวม เพื่อนักศึกษาตระหนักถึงหน้าที่ที่จะต้องทำต่อส่วนรวม

กลั่นกรอง
– มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่มIMG_3467
– กำหนดให้แต่ละกลุ่มมีการวางแผนการทำงาน
– กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละคนในกลุ่มอย่างชัดเจน
– จัดกลุ่มเรียนปฏิบัติการ ให้สลับกันทำรายงานในแต่ละสัปดาห์เพื่อให้นักศึกษาได้ช่วยกันทั้งกลุ่ม
– ใช้กิจกรรมแบบTerm project ให้นักศึกษาจับคู่/จับกลุ่มทำร่วมกัน

ประเมินผลงาน, ความก้าวหน้า และพฤติกรรมการทำงานแบบช่วยเหลือ/ร่วมมือกันในกลุ่ม
สังเกตและประเมินพฤติกรรมการทำงาน, ซักถามรายงานของแต่ละกลุ่มในชั้นเรียนเพื่อให้ช่วยกันวิเคราะห์และตอบ ปัญหา
• จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่น
และบุคคลภายนอกเช่น พาไปช่วยงานโครงการบริการวิชาการของสาขา เข้าร่วมโครงการของคณะ เพื่อให้นักศึกษาได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนต่างคณะ เพื่อนต่างชั้นปี หรือชุมชน