ครั้งที่ 6 วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ด้านคิด วิเคราะห์ สื่อสารใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558

การจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน
วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


5 กุมภาพันธ์ 2558
อ. ประณต กล่ำสมบูรณ์
อ.จินตนา เพชรมณีโชติ
อ.รวิภัทร ลาภเจริญสุข
อ.สายใจ จริยเอกภาส
อ.สุธีรา อานามวงษ์
อ.กฤษดา สมิตะสิริ
อ.สินทรัพย์ แซ่แต้
อ. วิจิตร์ วิโสรัมย์
อ.ปราณี นิมิบุตร
อ.ศรีมา แจ้คำ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ :การวัดผล ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

อ.สายใจ จริยเอกภาส
ยกกรณีรายวิชาปัญหาพิเศษที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ค่อนข้างมาก และเป็นความรับผิดชอบของรายวิชาที่มอบหมายตามแผนที่กระจายความรับผิดชอบให้สร้างทักษะนี้ ลักษณะการสร้างทักษะจะเริ่มโดยการกำหนดโครงร่าง ซึ่งต้องใช้วิธีการสืบค้นหาข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะในประเทศและต่างประเทศ นี้จะเป็นจุดสำคัญว่าถ้าเราตรวจโครงร่างทำให้เราประเมินได้ว่าเค้ามีความสามารถในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ในระดับไหน หลังจากนั้นในระหว่างการทำงานวิจัย ในเรื่องของการวางแผนการทดลองแนวการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และมีการติดต่อตลอดว่าเด็กมีการวางแผนการทดลองได้ถูกต้องหรือไม่และมีการประเมินให้คะแนน ซึ่งผลของระบบจะเกิดเป็นเล่มสมบูรณ์ในตอนท้าย ที่ใช้ประเมินผู้เรียนได้ว่ามีการใช้เทคนิคสารสนเทศได้เหมาะสมหรือไม่ ส่วนทักษะการค้นคว้าการหาข้อมูลจากแหล่งอื่นประกอบการเรียนรู้ประเมินจากเอกสารอ้างอิง โดยบังคับให้อ้างอิงเอกสารต่างประเทศด้วย

อ.กฤษดา สมิตะสิริ
ในวิชาจุลชีววิทยาทั่วไปของเทอมที่แล้ว กำหนดไว้ 2 ด้าน คือความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เรื่องที่ 2 คือสามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นหรือการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม นี่คือสิ่งที่คาดหวังว่าจะต้องพัฒนาเด็ก ส่วนวิธีการประเมินผล อ้างอิงตาม มคอ.3 อันแรกคือการประเมินการใช้ภาษาในการเขียนรายงานและการนำเสนองานที่มอบหมาย ประเมินจากการเขียนรายงาน การสืบค้นข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และประเมินจากการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย รายวิชาที่มีปฏิบัติการอยู่ด้วยเราสามารถตรวจการใช้ภาษาในการเขียนรายงานได้ตลอดเทอมและสังเกตได้จากการเขียนรายงาน ถ้าวาดรูปจะคล่องแต่ถ้าเป็นการเขียนเมื่อไหร่จะเป็นวิธีการใช้ภาษา เด็กส่วนใหญ่จะมีภาษาแชทอยู่ด้วย จะตรวจอย่างเคร่งคัด ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ตลอดภาคการศึกษา ส่วนปลายภาคการศึกษาให้มีการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย มีทั้งการสืบค้นข้อมูลเรื่องที่ผู้เรียนเลือกเองตามที่ตนเองสนใจ บางครั้งกำหนดกรอบในการค้นหาข้อมูล ซึ่งในส่วนนี้จะอยู่ช่วงปลายภาคทั้งนี้จะมีงานอยู่3ส่วน ส่วนแรกคือ รายงานฉบับสมบูรณ์จากการที่ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้ามา ซึ่งใช้ตรวจสอบวัดผลทักษะการใช้ภาษาได้อย่างชัดเจน อีกงานหนึ่งเป็นสไลด์ pwp ที่นำเสนอ ตรวจความถูกต้องประเมินและให้คะแนน ส่วนที่สามคือวิธีการนำเสนอการทำงานเป็นทีม จะดูว่าข้อมูลที่เสนอมีความครบถ้วนสมบูรณ์และความถูกต้องของข้อมูลและในช่วงการถามตอบ จะเปิดโอกาสให้ นศ.ที่เข้าร่วมฟังซักถาม

อ. วิจิตร์ วิโสรัมย์
เรื่องของการใช้ภาษาและการสื่อสาร อย่างแรกคืองานเดี่ยวที่มอบให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วสรุปเนื้อหาเป็นหนึ่งหน้ากระดาษเพื่อฝึกทักษะการใช้ภาษา ผู้สอนประเมินคะแนนและแจงเป็นรายบุคคลว่าคะแนนที่ได้สะท้อนทักษะของผู้เรียนอย่างไร อีกระดับหนึ่งเรื่องของการใช้ภาษาในการสื่อสารคืองานมอบหมายที่ต้องอาศัยทักษะการทำงานกลุ่มเป็นการร่วมกันของกลุ่มกำหนดเรื่องเพื่อค้นคว้าและนำเสนอในช่วงท้ายเทอม ประเมินจากการนำเสนอ จากสไลด์ จากเล่มรายงาน ทักษะนี้ถ่วงน้ำหนัก 10 % ที่พบส่วนใหญ่รายงานมีลักษณะ copy มาจาก website โดยไม่เปลี่ยนแปลงประโยคหรือข้อความแสดงถึงว่าผู้เรียนไม่มีการวิเคราะห์สังเคราะห์ การนำเสนอสะท้อนว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะการนำเสนออย่างสิ้นเชิง การจัดให้นำเสนอในช่วงปลายเทอมนั้น ทำให้ไม่สามารถให้นศ.ปรับปรุงได้มากนัก เพียงแต่ให้ข้อคิดเห็นกลับไป ภายหลังจึงปรับช่วงเวลาให้เป็นช่วงกลางเทอม น้ำหนักคะแนนสำหรับทักษะนี้กำหนดไว้ 25 %

อ. ประณต กล่ำสมบูรณ์
เนื่องจากในกลุ่มของชีววิทยา มีการสอนเป็นกลุ่ม เนื่องจากเป็นนักศึกษาจะเป็นปี 1 สิ่งที่เห็นคือ ผู้เรียนไม่สามารถในการสืบค้นและแยกแยะเรื่องที่สืบค้น ในเรื่องของการ copy paste copyอะไรมาวางโดยที่ไม่รู้เป็นเรื่องปกติ ถ้าต้องการให้เด็กเก่งในเรื่องนี้ เราต้องกล้าที่จะพัฒนาด้วยการหักล้างงาน และวิจารณ์งานอย่างตรงไปตรงมา ทีมเราให้ความสำคัญในเรื่องการนำเสนอ และเพิ่มความถี่ให้ผู้เรียนนำเสนอบ่อยครั้งขึ้น โดยผู้สอนแบ่งหน้าที่เพื่อฝึกทักษะนี้ เช่น ดร.รัชดาเป็นผู้วางหัวข้อ แล้วให้ ดร.ประณตและ ดร.วิจิตร์ เป็นผู้ให้คำแนะนำ ทีมต้องสร้างเทคนิควิธีที่จะจัดและที่จะต้อนและกดดันผู้เรียนฝึกฝนเรื่องการสังเคราะห์ การคิดการนำข้อมูลมาประสานกัน ในกลุ่มของชีววิทยามีตัวเลขของการวัดผลค่อนข้างชัดเจน

อ.ศรีมา แจ้คำ
มอบหมายงานค้นคว้า ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน ยกตัวอย่างวิชาการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมให้นักศึกษาค้นคว้ามาตรการเกี่ยวกับอุปกรณ์อะไรก็ได้ที่จะส่งผลให้มีการประหยัดพลังงานเกิดขึ้นการสืบค้นปกติคือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาตรการตรงนี้จะเยอะเพราะฉะนั้น เราจะรู้ว่าผู้เรียนสืบค้นมาได้ลึกเพียงใด ส่วนการประเมินผลหลักๆเลยคือ 1. เทคนิคในการนำเสนอ 2 .ความสามารถในการอธิบาย เหตุผลประกอบคำอธิบาย 3.รูปเล่มของรายงานจะพิจารณาจากภาษาในการเขียนรายงาน ในส่วนนี้ให้คะแนน 10 % เนื่องจากผู้เรียนเป็นนักศึกษาระดับป.โท ฉะนั้น ความสามารถในการนำเสนอและการอธิบายจะสูงกว่าผู้เรียนระดับป.ตรี

อ.สุธีรา อานามวงษ์
กำหนดให้นศ ค้นคว้าศึกษาด้วยตนเองจากเว็บไซด์ สืบค้นข้อมูลในระบบออนไลน์ สื่อออนไลน์มีบทบาทในการเรียนการสอนค่อนข้างมาก เนื่องจากไปอบรมมาจะขอเสริมเรื่องระบบ e-learning โดยจะมีให้สร้างรายวิชาจากนั้นเราสามารถรับนศ.เข้าระบบโดยใช้รหัสนักศึกษาหรือนักศึกษาสามารถแอดได้เอง สามารถโพสต์ที่กระดานข่าวนักศึกษาสามารถเข้าอ่านได้ เช่นการสั่งการบ้าน กำหนดการสอนในวิชาหรือให้ค้นคว้าเพิ่มเติมอะไรบ้างนักศึกสามารถส่งงานผ่าน e-learning และสามารถตั้งเวลาในการส่งงานได้ สามารถคอมเม้นงานได้ว่าผิดข้อไหน แก้ไขตรงไหน หรือถ้าเด็กส่งไม่ได้จะมี inbox เข้ามาบอก จะเชื่อมกับแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือนักศึกษา สามารถอ่านทบทวนรับรู้ข่าวสารได้ผ่านทางมือถือได้ตลอด ช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนใกล้ชิดกันมากขึ้น
ส่วนเรื่องทักษะทางตัวเลขเนื่องจากสอนบรรยาย จะให้ผู้เรียนเทียบข้อมูลหลายๆข้อมูล อาจจะมีการแทนเป็นร้อยละ การคิดค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจาก powerpoint ที่ใช้ในการนำเสนอจะอีกโปรแกรมหนึ่งคือ prezi เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปในอินเทอร์เน็ต ได้นำมาสอนเด็กและให้เด็กมานำเสนอ ถ่วงน้ำหนักทักษะนี้เป็น 30 %

อ.รวิภัทร ลาภเจริญสุข
มอบให้ผู้เรียนตั้งกลุ่มในเฟสบุ๊ก ประสานงานผ่านทางเฟสบุ๊กช่วยให้เรารู้ว่าผู้เรียนส่งงานตามเวลาหรือไม่ ในบทเรียนที่เป็นทฤษฎีจะให้ผู้เรียนทำเป็นการทดลองและอัดเป็นวิดีโอไว้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้โปรแกรมสร้างวิดีโอในการนำเสนอผลงานของตนเอง ส่วนทักษะทางตัวเลขมีการฝึกการใช้โปรแกรมทางสถิติหรือทางคณิตศาสตร์ สำหรับการวัดผล มอบหมายให้ผู้เรียนค้นคว้าหาข้อมูลที่เป็นข้อสอบและเรียบเรียงก่อนส่ง เพื่อกระตุ้นให้เด็กค้นคว้า ถ่วงน้ำหนักทักษะนี้เป็น 20 %

อ.ปราณี นิมิบุตร
เป็นวิชาปฏิบัติการ ส่วนใหญ่จะเป็นการทดลองจะให้นักศึกษาเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวเลขเป็นรายกลุ่มและนำเสนอ ส่วนการสืบค้นข้อมูลก็จะให้ทำเป็นรายงานกลุ่มทั่วๆไป

อ.จินตนา เพชรมณีโชติ
วิชาจุลชีววิทยา มอบหมายให้ค้นคว้าและเขียนรายงานมานำเสนอ การวัดผลจะพิจารณาจากภาษาในการนำเสนอ การซักถาม การตอบคำถามที่เกิดจากการนำเสนอและดูข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น ถ่วงน้ำหนักทักษะนี้เป็น 20 %

อ.สินทรัพย์ แซ่แต้
คล้ายกับ อ.ท่านอื่น แต่ที่ทำอยู่ได้ปรับปรุงจากที่ผ่านมาประเด็นคือ การส่งรายงานถ้ากำหนดให้ผู้เรียนส่งงานปลายเทอมผู้เรียนจะไม่มีโอกาสได้รู้ว่าคุณภาพงานที่ทำอยู่ประมาณไหน จึงขยับเข้ามาช่วยให้มีเวลาได้ตรวจและบอกให้ผู้เรียนได้แก้ไข           นอกจากนี้จะใช้เฟสบุ้คเป็นตัวติดต่อสื่อสารกับเด็ก มีการนำข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เฉลยข้อสอบ การบ้าน โพสต์ไว้ที่เฟสบุ้ค ทักษะด้านตัวเลขคือ เวลาที่เด็กเขียนตัวเลขมาแล้ว ตัวเลขจะบอกอะไร ต้องสามารถแปรผลตัวเลขออกมาให้ได้ด้วย สำหรับวิชาศึกษาทั่วไปจะมีเรื่องของการใช้ exel จัดข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น มีใบงาน มีการวัดผลประเมินผลอย่างชัดเจน ใช้เรื่องเทคโนโลยีมาช่วยในเรื่องการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนผ่านคิวอาร์โค้ด เด็กมีความกระตือรือร้นดีและมีเวลากำหนดไว้ว่าห้ามสายเกิน 10 นาที

อ. ประณต กล่ำสมบูรณ์
เกือบทุกวิชาจะมีการวัดผลในทักษะด้านนี้แต่จะเป็นในรูปของการนำเสนอใหญ่ท้ายเทอม ที่ไม่มีเวลาให้ผู้เรียนแก้ตัวก็จะไม่เกิด ยกตัวอย่างเช่นวิชา stel เพิ่มความถี่ให้ผู้เรียนฝึกทักษะจากการนำเสนอมากขึ้น คือใน 15 สัปดาห์ จะเป็นเรื่องของการสร้างทักษะด้านการใช้ภาษาการสร้างสื่อที่มากขึ้น เพราะฉะนั้นตลอดภาคการศึกษาผู้เรียนจะต้องสืบค้น กลั่นกรอง สร้างสื่อ นำเสนอตลอดภาคไม่ต่ำกว่า 12 ครั้ง ใช้เฟสบุ้คในการประสานกับผู้เรียน กำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้เรียนภายในวิชา ให้ความสำคัญเรื่องของการให้โจทย์เพื่อให้เกิดมีการวิเคราะห์ทั้งนี้จะพิจารณาจากมคอ.3ว่าได้รับมอบหมายในเรื่องของอะไร โจทย์จะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการ copy วาง การวางโจทย์จะวางเป็นคำหรือวลีที่ให้นักศึกษาต้องสืบค้นหลายชั้นเพื่อที่จะได้ศึกษามากขึ้น เรื่องของภาษาจะกรองตั้งแต่การทำใบงาน ที่สำคัญคือใช้ผู้เรียนที่ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการเป็นเครื่องมือในการประเมิน ส่วนทักษะการเขียนจะมอบหมายเป็นงานรายบุคคลเด็กจะต้องเขียนเป็นบทความสั้นๆส่งให้พิจารณา วิธีการคือวางตัวหัวข้อที่จะให้สืบค้นที่บังคับให้ต้องสืบหลายชั้นไม่ซ้ำกับข่าวออนไลน์เพื่อผู้เรียนจะใช้ทักษะในการรวม เรียบเรียง เขียน ถ่วงน้ำหนักทักษะนี้เป็น 20 %

กลั่นกรอง
1.กำหนดการเรียนรู้ให้ตรงตามแผนที่กระจายความรับผิดชอบของรายวิชาIMG_2029
2.การเขียนรายงานและการนำเสนองานที่มอบหมาย ประเมินจากการเขียนรายงาน การสืบค้นข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และประเมินจากการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
3.ตรวจประเมินผลงานการใช้ภาษาอย่างเคร่งคัด ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
4.ปลายภาคการศึกษาให้มีการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย มีทั้งการสืบค้นข้อมูลเรื่องที่ผู้เรียนเลือกเองตามที่ตนเองสนใจ บางครั้งกำหนดกรอบในการค้นหาข้อมูล
5.เพิ่มความถี่ให้ผู้เรียนฝึกทักษะจากการนำเสนอมากขึ้น
6.ใช้เทคโนโลยี social net work เช่น facebook หรือการใช้ QR Code ให้เป็นประโยชน์ในด้านการเรียน
7.ปรับช่วงเวลาการมอบหมายงานการสืบค้น การรายงาน การเขียนรายงานที่ปรกติมักเป็นภายภาคการศึกษาให้อยู่ในช่วงระหว่างภาคเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการประเมินและมีโอกาสปรับปรุง
8.ทักษะทางตัวเลข ใช้ข้อมูลที่หลาหลาย ให้ผู้เรียนฝึกเปรียบเทียบเชิงคณิตศาสตร์ เช่นเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
9.ให้รู้จักและใช้ software ที่หลากหลายเช่น excel เพื่อการคำนวณ หรือ prezi ที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้เพื่อการนำเสนอ