ครั้งที่ 7 วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ด้านเทคนิคการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558

เทคนิคการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ครั้งที่ 1
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558

อ. วิจิตร์ วิโสรัมย์
กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือให้เด็กกำหนดการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าจากโฆษณาตามสื่อที่มีอยู่ตามที่ต่างๆในปัจจุบัน

โดยเฉพาะใน TV โดยจะให้นักศึกษาไปเลือกว่าจะเอาอะไรมาก็ได้ ผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับเรื่องอุปโภค บริโภค ก็ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น Dentyne sugar free ที่ระบุว่ามี xylitol เป็นส่วนผสม ให้นักศึกษาอธิบายว่า xylitol คืออะไร สร้างความหวานได้อย่างไร มีประโยชน์อย่างไร จึงนำเอามาใช้แทนน้ำตาลและมีข้อดีอย่างไรบ้าง และให้นักศึกษานำเสนอการเรียนรู้ให้เพื่อนๆฟัง เพราะฉะนั้นนักศึกษาทุกคนมีอิสระที่จะเลือกหัวข้อในการเรียนรู้ ที่จริงแล้วสื่อโฆษณาประเภทนี้มีมากมาย เช่น omega ที่ปรากฎในเครื่องดื่มที่เป็นนม เช่น omega folateในนมเด็ก L-carnitine ในเครื่องดื่ม นักศึกษาจะเลือกมาแล้วเรียนรู้ในเรื่องนั้นแล้วก็มาคุยกันในต้นชม.ของการเรียน การได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากงานที่นักศึกษาเลือก ค้นคว้าจะทำให้เกิดข้อสงสัยตั้งคำถาม เช่น นักศึกษาเกษตรกลวิธาน พูดถึงน้ำยาบ้วนปากคอลเกต จะทำให้ปากสดชื่น เกิดเป็นคำถามให้นักศึกษาว่าในน้ำยาคอลเกตพลัส มีอะไร ที่ช่วยทำให้ปากสดชื่น จากข้อสงสัยพาไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติม

อ.สุธีรา อานามวงษ์
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการเรียนรู้ของอ. จะไม่จำกัดสถานที่เวลา การเรียนรู้ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อาจจะค้นคว้าจากห้องสมุด สั่งงานไปให้นศ.ค้นคว้า อาจจะเรียนแบบ e-leaning หรือ you-tube ใช้ค้นคว้าเพิ่มเติมและก็มานำเสนอ การนำเสนอไม่กำจัดรูปแบบการนำเสนอ เพราะแนวการนำเสนอของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนถนัดpower point บางคนถนัดทำ poster แผ่นพับ อาจมีการหาโปสเตอร์งานวิจัยให้นักศึกษานำเสนอและอาจ โต้วาทีหาข้อมูลโดยการให้ใช้โทรศัพท์ค้นหาข้อมูลได้ มาโต้กันเป็นการเรียนที่สนุกสนาน หรือในระหว่างเรียนให้หาข้อมูลทาง internet เพื่อมาตอบคำถามเพื่อนในห้องเรียน การเรียนรู้แบบการจัดทำบัตรคำ ให้นักศึกษานำเสนอเรื่องที่หยิบบัตรคำได้ การเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรม ในการจัดกิจกรรมอาจต้องลำบากใจตรงที่ อ.อย่าเพิ่งไปยุ่งกับ นศ. ให้นศ. ค้นคว้าแล้วมานำเสนอให้ อ. ก็จะอธิบายเสริมเพิ่มเติมแล้วสอนให้นศ.นำไปบรูณาการกับชุมชน มีการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม โดยให้นศ.เลือกศัพท์ที่สนใจ และมาท่องให้อ.ฟัง โดยอ.จะเป็นคนสุ่มเลือกคำและให้นศ. ท่องให้ฟัง เพื่อที่นศ. จะได้จำ

อ.จินตนา เพชรมณีโชติ
ในรายวิชาที่สอนก็ไม่ได้ให้ทำกิจกรรมอะไรมาก ในรายวิชาเทอมที่แล้วได้สอน ในรายวิชาจุลชีววิทยา มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าจากสื่อต่างๆในวารสาร หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วก็สรุปเป็นรูปเล่มรายงาน

อ.ลมภูริพล
ในรายวิชาเบเกอรี่ จะให้นศ.จัดทำเป็นช้อปเล็กๆ และกำหนดให้มีบทบาทตามสมมุติ เช่นฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ผจก.ร้าน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ แม่บ้าน ฯลฯ โดยให้นศ.เลือกกันเองว่าใครจะเล่นบทบาทใด และให้ นศ.ไปคิดเองในรายวิชาเบเกอรี วิชาขนมอบ ว่าจะสร้างผลิตภัณฑ์ตัวใดออกขาย เช่นบ้างคนที่ไม่เคยทำช็อกโกแลตลาวาเลย นศ.ก็ได้ค้นคว้าหาวิธีทำจากสื่อออนไลน์ เช่นยูทูป จากนั้นนักศึกษาจะนำสิ่งเรียนรู้ได้มาปรึกษาแล้วก็ลงมือทำจริงอาจเป็นแบบลองผิดลองถูก แล้วทำเล่มรายงานส่งพร้อมการนำเสนอหลังจากการทดลองแล้ว

อ.กฤษดา สมิตะสิริ
ให้นักศึกษาสืบค้นในหัวข้อที่นักศึกษาเรียน เป็นการนำเสนอโดยการใช้ powerpoint หัวข้อที่ให้นักศึกษามานำเสนอนี้ บางครั้งก็เปิดกว้าง บางครั้งก็ตีกรอบ ซึ่งการเปิดกว้างนั้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาหัวข้อมานำเสนอ ไม่ได้ช่วยให้เกิดหัวข้อที่หลากหลาย เช่น นศ. คณะเกษตรฯ สาขาพืชศาสตร์ ถ้าเราไม่กำหนดหัวข้อ นศ.ก็จะทำรายงานออกมานำเสนอในทิศทางเดียวกัน เช่นถ้านศ.ทำเรื่องปุ๋ย ก็จะออกมาในรูปแบบเดียวกันหมด ตอนหลังจึงต้องตีกรอบให้นศ. เลือกเรียนรู้ในสิ่งที่เค้ากำลังเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น เรื่อง bacteria นี้ ในส่วนหนึ่งรวมถึงเป็นการทดลองให้เรียนรู้จากห้องเรียน แต่อีกส่วนที่ไม่สอนนี้ ต้องค้นคว้าจากนอกห้องเรียน การทดสอบผลการเรียนรู้จะให้นศ. ค้นคว้าแล้วมานำเสนอ สิ่งที่สำคัญในการนำเสนอ นศ.จะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่ว่าสักแต่จะทำหรือค้นมาแล้วมาอ่านให้เพื่อนฟัง จากการที่ได้ไปสืบค้นมาก็ควรตอบคำถามหลังการนำเสนอให้ได้

อ.ศรีมา แจ้คำ
เรื่องการเรียนรู้ด้วยตนเองส่วนใหญ่จัดโดยให้งานมอบหมาย ส่วนในตัวของอ. เอง ได้สอนในรายวิชาของการอนุรักษ์พลังงานในระบบอุตสาหกรรมส่วนกิจกรรมที่ทำได้คือ การเรียนรู้การใช้เครื่องมือ ก็ไม่มีอะไรมาก เรามีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรอยู่ ก็มาวางให้นศ.ดู และบอกวิธีวัดบอกหลักการของการใช้เครื่องมือทั้งหมดแล้วให้นศ.นำเครื่องมือไปวัดจริงในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดข้างนอกสถานที่ วัตถุประสงค์คือการนำเครื่องมือไปใช้จริงเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้เพิ่มเติม เชื่อว่าเป็นทวีคูณ เมื่อได้ข้อมูลก็มาร่วมกันหามาตรการการวัดพลังงาน ดังนั้น นศ.จะได้เจองานจริง ส่วนใหญ่แล้วบางท่านเองที่มาเรียนเป็น ผจก. เจ้าของธุรกิจเอง ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือ ส่วนอาจารย์หรือนศ. ที่ขาดประสบการณ์ด้านนี้ ก็ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยให้ได้ความรู้เพิ่ม

อ.สุกัลยา ชาญสมร
ถ้าเป็นกิจกรรมที่เรียนรู้ด้วยตนเองนั้น เทคนิคที่ใช้เป็นการให้โจทย์ โครงการหรืองานที่เราหวังและเราอยากให้เด็กได้ทำจริง แต่เทคนิคนี้อาจจะใหม่นศ.อาจจะยังไม่เคยทำ แต่ อ.ก็ต้องกล้าที่จะโยนโจทย์นี้ให้กับเด็ก โดยส่วนใหญ่ผู้สอนก็จะคิดว่าเด็กจะทำได้หรือ แต่เด็กยุคปัจจุบันเขาจะค้นหาทาง หาคำตอบออกมาจนได้ ตัวอย่างเช่น โปรเจคทางด้าน ไอที โปรเจคด้านการจัดการ ผลงานของผู้เรียนทั้งหมดจะถ่ายทอดให้กับประชาชนกับเด็กนักเรียน เช่น ออกงานที่โรงเรียนเกาะโพธิ์ ซึ่ง นศ.จะต้องเป็นธุระจัดการทุกอย่างเองทั้งหมด ส่วนผู้สอนก็จะคอยดูอยู่ห่างๆ หรือวิชาการพัฒนาโปรแกรมแต่ละกลุ่มจะมีการนำเสนอในรูปแบบของตัวเอง ซึ่งนศ.ทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการฝึกการนำเสนอและถามตอบ อีกรายวิชาหนึ่งได้ไอเดียมาจาก อ.กฤษดาในรายวิชาคณิตคอมฯ ก็ได้ให้นศ.ทำรายงานโดยนศ.เลือกหัวข้อทำรายงาน และจากประสพการสอนนศ. สาขาวิทย์อาหารและโลจิสติกส์ ก็คาดไม่ถึงว่านศ.วิทย์อาหาร จะทำเรื่องทางด้านคอมพิวเตอร์ แล้วนำเสนอออกมาได้ดี ส่วนสาขาโลจิสติกส์ก็ทำออกมาได้ดีเช่นกัน เพราะอาจจะเป็นเรื่องที่ นศ.สนใจ ตรงกับสาขาที่ตัวเองเรียนด้วย

อ.ประณต กล่ำสมบูรณ์
อ.ประจำวิชา ในหมวดชีววิทยาจะปรึกษากันในการวางกลยุทธ์การสอน ไปในทิศทางเดียวกัน กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่จะให้เด็กเข้าใจพื้นฐานมากคือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่นกิจกรรม head hand heart เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียน ต้องนำคำบรรยายที่ได้รับฟังจากผู้สอนกำหนดเป็นหัวข้อการเรียนรู้ด้วยตัวเองตามกลไกการเรียนรู้เป็นกลุ่มแล้วเรียนรู้เพิ่มเติม และนำมาเข้ากระบวนการระดมสมองภายในกลุ่ม แล้วถ่ายความรู้ออกมาทางของเล่น เช่นนำประดิษฐ์โครงสร้างDNAจากความรู้ที่ตกผลึกด้วยห่วงพลาสติกของเล่นที่ร้อยเล่นเป็นกำไล เป็นตุ้มหู หรือการเรียนรู้เรื่องใบ ในวิชาพฤกษศาสตร์จะกำหนดหัวข้อกว้างๆเพื่อให้เด็กกำหนดประเด็นการเรียนรู้ และถอดบทเรียนจากการเรียนรู้อิสระเมื่อเด็กลงพื้นที่เพื่อศึกษา เช่นบางคนเรียนรู้เป็นหัวข้อ โครงสร้างใบ ชนิดใบ บางคนสรุปการเรียนรู้เรื่องใบลู่ลม โดยที่การเรียนรู้ไม่ต้องตรงกันขึ้นอยู่กับการพุ่งประเด็นของของ นศ. แต่ละคน
อีกวิชาหนึ่งคือ STEL ที่อยู่ในหมวดศึกษาทั่วไป เป็นวิชาที่เน้นเรื่องความเป็นมนุษย์และการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี การให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกิจกรรมหลัก แต่ที่จะยกขึ้นมาเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองและรับผิดชอบต่อผู้อื่น ใช้กลยุทธ์ห้องเรียนแบบ save zone กำหนดให้บรรยากาศในห้องเรียนเป็นพื้นที่ที่ผู้เรียนไว้วางใจ กล้าแสดงออก ไม่มีการข่ม ขู่ คุกคาม ด้วยการบรรยายจากผู้สอนชี้แจงสภาพห้องเรียนแบบนี้ให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกัน แล้วแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็นนศ.ล้วน กำหนดกติกาของชั้นเรียน และพฤติปฏิบัติที่พึงประสงค์ของชั้นเรียน โดยประธานกรรมการจะสรุปรายงานพัฒนาการของห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งหมดเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการอยู่ร่วมกัน และเรื่องคุณธรรมจริยธรรมตามเป้าหมายที่ผู้เรียนคาดหวัง
สิ่งที่สังเกตเห็นได้คือ
1. ภาระของการเช็คชื่อของอ. จะเบาลง เนื่องจากนศ.สร้างแรงจูงใจเข้าชั้นเรียน
2 .การเรียนในห้องเซฟโซน งานที่ได้รับมอบหมายอย่างไรเราจะได้ยินเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม ของนศ. และมีพัฒนาการของผู้เรียนที่อยากจะเข้าชั้นเรียน อยากนำเสนอ และอยากจะค้นหาเรียนรู้มากกว่าชั้นเรียนทั่วไป

อ.ระวิน สืบค้า
เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตั้งโจทย์หรือคำถามขึ้นมาในคาบเรียน ตั้งโจทย์ปัญหาขึ้นมา ในโจทย์นั้นแต่เน้นในสถานที่จริงคล้ายๆแบบฝึกหัด ในท้ายชม. ที่เหลือไว้ เช่น ระบบลำเลียงขนถ่ายวัสดุ โดยใช้ชั้น 2-3 ให้เป็นโกดังโรงงาน ให้นศ.ออกแบบลักษณะขนถ่ายลำเลียงวัสดุ อาจมีหลายเครื่องมือ ข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป และอาจมีข้อเด่นที่แตกกลุ่มออกมา และให้นศ. ออกมานำเสนอหน้าห้องเรียน เทคนิคที่ใช้กันบ่อยคือให้ผู้เรียนแลกกันตรวจการบ้านที่ อ.เฉลยให้ก่อน นศ.ที่จะตรวจได้จะต้องเข้าใจเนื้อหาที่เรื่องมาเป็นอย่างดี

อ.ศุภฤกษ์ กุลปภังกร
ในรายวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ก็จะเน้นในเรื่องของกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้เด็กได้กล้าแสดงออกและให้มาเรียนรู้ด้วยตนเองยกตัวอย่างเช่นในเรื่องของกิจกรรมของสิ่งแวดล้อม ก็จะพูดถึงสิ่งแวดล้อมทั่วไปว่าดี หรือไม่ดีอย่างไรและมอบหมายงานให้นศ. ไปเรียนรู้ เช่นให้นศ.ได้ศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน มหาวิทยาลัยของเรา รวมถึงภายในหอพัก โดยตั้งประเด็นการเรียนรู้ไว้เช่นมลพิษภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น ให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ว่าควรบริหารจัดการอย่างไร หรือสิ่งแวดล้อมที่ชอบ หรือสิ่งแวดล้อมที่เราไม่ชอบ เพื่อพัฒนาความคิดของเด็กว่าต้องการจะพัฒนาอะไร หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือหัวข้อสิ่งแวดล้อมมลพิษในชุมชน จะมอบให้นศ.ไปสำรวจ เพื่อที่จะพัฒนา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน หรือเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้เรียนเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องคุณภาพตัวเองและการพัฒนาตัวเองก่อน และการพัฒนาอย่างอื่นจะเป็นไปได้ดี

กลั่นกรอง
1.เทคนิคการกำหนดโจทย์การเรียนรู้ที่อยู่รอบตัวไม่จำกัดสถานที่ สื่อ เวลาเช่นจากสื่อโฆษณา ห้องสมุด เรียน e-leaning หรือ you-tube บทบาทสมมุติ การเรียนรู้จากเหตุกรณีศึกษา เหตุการณ์สมมุติการวางโจทย์ให้นักศึกษาวางระบบเพื่อให้ได้ผลงานตามโจทย์ที่ตั้งไว้IMG_3450
2.กำหนดกิจกรรมให้เด็กกำหนดการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าจากโฆษณาตามสื่อ
3.กำหนดให้เรียนรู้จากบทบาทสมมุติ
4.ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองด้วยการลงมือทำจริงเช่นให้นศ.นำเครื่องมือไปวัดจริงในโรงงานอุตสาหกรรม
5.ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองจากสถานการณ์จำลอง