อ.ปราณี นิมิบุตร: บูรณาการกับพันธกิจด้านทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม เทคนิคคือการนำผู้เรียนวิชา ผลิตภัณฑ์อาหารหมัก กับอีกหลายวิชาที่เกี่ยวกับอาหาร โดยวางโจทย์เรื่องแหนมเห็ดเจแล้วมอบหมายให้ผู้เรียนไปเรียนรู้ที่โรงเจ
เพื่อเรียนรู้เรื่องอาหารเจ วัตถุประสงค์ ข้อห้าม ของอาหารประเภทนี้ จากนั้นให้นักศึกษานำประสพการที่เรียนรู้ด้วยตนเองมาปรับใช้กรณีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แหนมเห็ดเจ ในประเด็นการแทนเนื้อสัตว์ด้วยเห็ดผู้เรียนก็จะประมาณว่าเป็นการทดแทนโปรตีนที่พอดีกันหรือไม่ รวมถึงการนำข้อห้ามของการปรุงอาหารเจ มาปรับปรุงทดแทนส่วนผสมและปรุงรสชาติแหนม เช่นข้อห้ามใช้กระเทียมปรุงอาหารเจเป็นต้น
อ.สายใจ: บูรณาการกับพันธกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม พันธกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารรายวิชาจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการตั้งสถานการณ์ ทำงานกลุ่ม กำหนด theme เป็นเรื่องอาหารพื้นบ้าน เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี อาหารพื้นบ้านชาวประมง เป็นต้น ให้แต่ละกลุ่มค้นหาโจทย์จากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด เด็กต้องสำรวจและนำองค์รวมความรู้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ที่ไม่วางขายในท้องตลาด วางแผนการนำไปทดสอบกับผู้บริโภคในท้องถิ่น ที่กำหนดเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนได้พบสถานการณ์จริง ได้แก้ปัญหาเรื่องของผลิตภัณฑ์การออกแบบ การคิดคำนวณ การเข้าถึงชุมชน ใช้เทคนิคส่วนตัวแก้ปัญหาขณะอยู่ในสถานการณ์จริง การสร้างเครื่องมือการประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ การแปลความหมายจากตัวชี้วัด สรุปผลงานกลุ่ม นำเสนอหน้าชั้น อ.สกุลชาย สาระมาศ:บูรณาการกับพันธกิจการบริการทางวิชาการ การพัฒนานศ.ด้านวิชาชีพ วิชาคอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค ลักษณะใช้เวลาในชั้นเรียนให้ความรู้ปกติ มอบหมายกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเองให้นำความรู้ที่ได้รับสู่การปฏิบัติจริงด้วยการออกค่ายอาสากับชุมชน กับมหาวิทยาลัยอื่น ได้พบปะผู้คน ได้เปรียบเทียบได้สร้างความมั่นใจในการเข้าสังคม หัวข้อหลักที่ให้เรียนรู้ด้วยตนเองจะเป็น คอมพิวเตอร์กับการซ่อมบำรุง กรณีที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานภายนอก ผู้เรียนจะเป็นธุระติดต่อ ให้ กิจกรรมเช่นนี่มีพัฒนาการ ผู้เรียนได้ทำงานเป็นทีม ส่วนสะท้อนการเรียนรู้คือเมื่อการทำกิจกรรมได้รับการตอบรับมากขึ้น ผู้เรียนสนใจมากขึ้น ซักถาม และขอคำปรึกษามากขึ้น
อ.สินทรัพย์ แซ่แต้:บูรณาการกับพันธกิจการบริการทางวิชาการ บูรณาการกับการบริการทางวิชาการด้วยการมอบหมายให้นักศึกษาจัดบูท ออกแบบกิจกรรมในบูทเช่นเกมส์ ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นการให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมกับสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภายหลังให้ถอดการเรียนรู้และใช้ความรู้ในวิชาใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์นำเสนอข้อมูล ด้านสถิติให้ผู้เรียนเก็บข้อมูลจากการทำกิจกรรม วางแผนการจัดเก็บข้อมูลการใช้สถิติ ประเมินผลว่ากิจกรรมนั้นๆบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ อ.ศรีมา แจ้คำ: บูรณาการกับพันธกิจด้านการวิจัย วิชาการอนุรักษ์พลังงาน จากโจทย์ทั่วๆไปเรื่องมาตรการการประหยัดพลังงาน ด้วยการมอบหมายให้ผู้เรียนใช้ฐานความรู้ทางวิศวกรรมและกระบวนการทางวิจัยประกอบด้วย review literatureด้วยการสืบค้นเรื่องราวที่ทันสมัยย้อนหลังไปไม่เกิน 2 ปี กำหนดมาตรการการประหยัดพลังงาน วัตถุประสงค์ อุปกรณ์วิธีการ วิเคราะห์ผล ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานให้มากแล้วประมวล และจำนวนหนึ่งเรื่องจากนั้นเป็นการวิเคราะห์สังเคราะห์เกี่ยวกับโจทย์ที่ตนเองตั้งไว้โดยผู้สอนจะมอบเครื่องมือให้ ผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตัวเองเรื่องการใช้เครื่องมือนั้นให้เข้ากับวัตถุประสงค์ตั้งไว้ สรุปเป็นมาตรการการประหยัดพลังงานของตนเอง
ผศ.ศุภฤกษ์ กุลปภังกรณ์ : บูรณาการงานศิลปวัฒนธรรม วิชา stel กำหนดหัวข้อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการบูรณาการกับหัวข้อทางวัฒนธรรมการกินให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเช่นตามรอยขนมไทย การหายไปของขนมไทย การพัฒนาของขนมไทย ผลกระทบต่อการดำงชีวิตและสิ่งแวดล้อม อีกประเด็นเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องวัฒนธรรมประเพณี ตั้งประเด็นเรื่องการพัฒนาทางเทคโนโลยีจะมีผลให้ประเพณีใดหายไปจากสังคมไทย ยกตัวอย่างเช่นผลการเรียนรู้ที่ผ่านมา ผู้เรียนวิเคราะห์แล้วเห็นว่าประเพณีลอยกระทงอาจจะหายไปการเวียนจุดเทียนอาจเป็นการจุดเทียนทางอินเตอร์เน็ตแทน หรือ รูปแบบการบูชาบรรพบุรุษอาจเปลี่ยนแปลงไปอาศัยสื่อเทคโนโลยีมากขึ้น
อ.ประณต กล่ำสมบูรณ์: บูรณาการงานศิลปวัฒนธรรม บูรณาการกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประเด็นที่บูรณาการและให้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นการสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การกำหนดการเรียนรู้จะใช้โอกาสการจัดงานเกษตรแฟร์เป็น เป้าหมายการถ่ายทอดการเรียนรู้ ประสพการที่ผ่านมากับวิชาชีววิทยา และวิชาพฤกษศาสตร์ กำหนดวิธีการให้ ผู้เรียนทั้งหมดใช้การประชุมหารือว่าวิชาพื้นฐานที่ได้เรียนไปจากวิชาที่เรียน จะนำไปต่อยอด จัดเป็นกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ให้กับชุมชนในงานเกษตรแฟร์ได้อย่างไร ตัวอย่างที่ผ่านมา นศ.วิชาพฤกษศาสตร์กำหนดจัดกิจกรรมมองไม้ใต้เลนส์ วิชาชีววิทยาสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องข้าวโป่ง ไข่ป่าม สาขาบริหารธุรกิจเกษตร ข้าวไข่เจียวสมุนไพร วิทยาการคอมพิวเตอร์ ผ้าบาติก เมื่อโจทย์ที่ผู้เรียนกำหนดได้รับการเห็นชอบละรับคำแนะนำเพิ่มเติมเป็นเวลาการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติม จัดกลุ่มเนื้อหาการเรียนรู้ วางแผนเตรียมงานเพื่อการให้บริการทางวิชาการ หรือในปัจจุบันที่รายวิชาไม่ได้จัดกิจกรรมในช่วงเกษตรแฟร์ การกำหนดโจทย์ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและมีบูรณาการกับพันธกิจอื่นก็ยังคงเป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทั้งนี้การจะบูรณาการก็มีระบบมาตั้งแต่การประชุม พิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาในสาขาวิชาที่โยงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ได้ ตามด้วยการกำหนดในรายละเอียดงบประมาณที่สนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มทร.ตะวันออก กำหนดลงใน มคอ . 3 ตัวอย่างเช่นวิชา stel กำหนดการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ผู้เรียนต้องเรียนรู้เองตั้งแต่ความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ แผนโครงการ แล้วกำหนดประเด็นการปลูกฝังค่านิยมการอนุรักษ์ด้วยการกำหนดหัวข้อ ซึ่งที่ได้มาจากการประชุมร่วมกันของผู้เรียนเป็น หัวข้อ รักรักษ์พืชจากรากถึงยอด การเรียนรู้เป็นการแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามชนิดพืชที่สนใจ เช่น กล้วย ไผ่ บัว ผู้เรียนมีเวลา 8 สัปดาห์ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียน แล้วจัดกิจกรรมที่กำหนดขึ้นถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมชั้นได้เรียนรู้ ผลงานจากการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่มจะรวบรวม และถ้าเสนอต่อ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยก็สามารถรวมเข้ากับการรายงานประจำปีในหัวข้อการปลูกจิตสำนึกได้ อ.สุธีรา อานามวงศ์:บูรณาการกับพันธกิจการบริการทางวิชาการ จะขอเล่าเรื่องกะบวนการที่ทำให้การบูรณาการสอนกับงานบริการวิชาการนั้นตั้ง เริ่มจากการสำรวจความต้องการรับบริการวิชาการ ต้องสำรวจความต้องการก่อนว่าปีนี้จะทำโครงการบริการวิชาการอะไรบ้าง และหัวหน้าสาขาจะมีคุยกับอาจารย์ในสาขาว่าจะมีบริการวิชาการเรื่องไหนบ้าง และวิชาไหนที่สามารถนำไปบูรณาการได้ ทางด้านศิลปะวัฒนธรรมและการเรียนการสอน จะแจงไปให้อาจารย์ในสาขาเพื่อคิดหัวข้อ อันนี้ต้องทำก่อนเปิดภาคการศึกษาเพื่อระบุใน มคอ.3 กำหนด ชื่อกิจกรรม วันที่จัด ระบุว่านักศึกษามีส่วนร่วมในหัวข้อใด ประเมินผลอย่างไร เพราะมีผลต่อกระบวนการประกันคุณภาพ อาจารย์อาจจะบอกว่าบูรณาการการเรียนการสอนแล้ว แต่อาจารย์ไม่ได้ระบุลงใน มคอ.3ก็ไม่สามารถใช้ในการประเมินได้ เมื่อระบุมคอ.3เรียบร้อยแล้ว เมื่อเปิดภาคเรียน แจ้งให้นักศึกษาได้รับทราบว่าจะต้องมีส่วนโครงการบริการวิชาการ วันที่ เท่าไหร่ หัวข้ออะไรและนักศึกษามีส่วนร่วมอะไรบ้าง ตอนแรกกังวลว่าเราจะบูรณาการการสอนกันอย่างไร จึงไปศึกษาหลักการแล้วพบว่าทำได้มีหลายวิธี วิธีแรกอาจจะพาเด็กไปร่วมงานบริการวิชาการด้วยเช่น เป็นผู้ช่วยวิทยากร ผู้ช่วยฝึกปฏิบัติหรือช่วยจัดนิทรรศการก็ได้ อีกทางหนึ่งคือนำความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการมาถ่ายทอดให้เด็ก นี่ก็ถือเป็นการบริการวิชาการได้เช่นกัน ในสาขาวิชามีการบริการวิชาการเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิชาที่ตนเองเกี่ยวข้องเรื่องจัดการกับขยะชุมชน จึงระบุในมคอ.3 แจ้งให้ผู้เรียนทราบและให้นักศึกษามีส่วนร่วมด้วยการ ให้คิดกำหนดหัวข้อ ว่าจะมีบทบาทอย่างไรจะทำอะไร หลังจากที่บริการมาสักพัก จะให้เด็กขึ้นเวทีเพื่อบรรยาย พอเสร็จกิจกรรมจะมีช่วงปฏิบัติการ เด็กก็จะเป็นผู้ช่วยในการแนะนำกับชาวบ้านด้วย หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม เราต้องทำแบบประเมินคือ ประเมินผู้เข้ารับบริการวิชาการ คือชาวบ้าน และส่วนที่สองต้องประเมินนักศึกษาด้วย เพื่อถามนักศึกษาว่า ก่อนและหลังเข้าอบรม ว่าได้ความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่จากที่เรียนในห้องเรียนและมาเรียนรู้ในงานจริง และให้นักศึกษามีข้อเสนอแนะ และสุดท้ายให้ทำรายงานการบูรณาการบริการวิชาการ ซึ่งจะใช้ในการประกันคุณภาพได้ เพราะฉะนั้นจะเสนออาจารย์ว่าถ้าทำบูรณาการแล้วเพื่อให้ครบลูป ควรทำประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการได้มีส่วนในการบริการวิชาการและทำรายงานด้วย
อ.ลมภูริพล : บูรณาการกับพันธกิจการบริการทางวิชาการ ไม่ค่อยได้จับงานตรงนี้มากนัก แต่จะเล่าให้ฟังถึงการเคยเป็นทีเอตอนเรียนป.โท ว่าสาขาที่จบมา ค่อนข้างจะตรงกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการมุ่งสู่การบริการวิชาการ และเรื่องศิลปวัฒนธรรม เนื่องจากในคณะคหกรรมศาสตร์จะมีทั้งหมด 4 ด้าน ซึ่งจะเป็นปัจจัย 4 ของมนุษย์อยู่แล้ว เนื่องจากเรียนป.โท และเป็นทีเอด้วยจะได้สอนในวิชาขนมไทย อาหารไทยและเบเกอรรี มีโอกาสได้ร่วมการสอนและบริการวิชาการ ที่ มทร.ธัญบุรี อาจารย์แต่ละท่านวางแผนงานอย่างที่ อ.หญิงบอก คือแผนทุกอย่างจะบรรจุอยู่ในมคอ. 3 ยกตัวอย่างโครงการหนึ่งของคณะคหกรรมศาสตร์คือ โครงการปัจจัย4ชุมชน เป็นโครงการที่บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในวิชาอาหารไทย ขนมไทยเป็นต้น ซึ่งความรู้ที่ให้บริการในโครงการนี้เกิดจากผลงานวิจัยของนักศึกษาร่วมกับอาจารย์และนำถ่ายทอดสู่ชุมชน ทำต่อเนื่องมา 3-4 ปี โดยกลับไปที่ชุมชนเดิม แบ่งกลุ่มในการถ่ายทอด การประเมินผลสำเร็จใช้แบบสอบถาม จากทั้งนักศึกษาและอาจารย์ และชุมชน เก็บผลข้อมูลมาวิเคราะห์ ถอดบทเรียนเป็นเล่มคือการทำเล่มรายงาน เพราะถ้าไม่มีเล่มพวกนี้จะไม่มีตัวชี้วัดที่จะบอกได้ว่าโครงการบริการวิชาการที่เรานำความรู้ที่เรามีไปถ่ายทอดมันเป็นผลมากน้อยเพียงใด
ผศ.กฤษดา สมิตะสิริ : บูรณาการกับพันธกิจด้านการวิจัย บูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัยปี 2556 เรื่อง ศักยภาพของ mycorhiza กับการงอกของเมล็ดกล้วยไม้ ขอเล่าเพิ่มให้รู้จัก รา mycorhiza เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ตามรากต้นไม้บางชนิด ในการกระตุ้นการงอกของเมล็ดกล้วยไม้ดิน โดยมีการตั้งโจทย์สำรวจพื้นฐานของผู้เรียนมาก่อน ผู้เรียนรู้ว่าการกระตุ้นการงอกต้นไม้ทั่วไปจะเพาะบนอาหารสังเคราะห์ ที่เรียกว่า asymbiotic termination แต่เด็กจะคงไม่เคยรู้ว่าการเพาะอาจทำได้โดยอาศัย mycorhiza กระตุ้นการงอกที่เรียกว่า symbiotic termination seed การสอนผมนี้จะนำงานวิจัยเข้าไปสอดในการสอนหัวข้อที่สัมพันธ์ ในภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา ปี 2557 เป็นผู้เรียนหลักสูตรพืชศาสตร์ล้วนจึงถือว่าเหมาะมากกับการนำการวิจัยเรื่องนี้มาบูรณาการ การบูรณาการทำทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในภาคทฤษฎีในหน่วยเรียนสุดท้ายมีหัวข้อจุลชีววิทยาประยุกต์ ซึ่งมีหัวข้อจุลชีววิทยาทางดิน ที่ผมจะสอนเน้นไปที่บทบาทของจุลินทรีย์ในดินที่ทำหน้าที่เป็นตัวย่อยสลาย decomposer และตัวที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรต่างเช่น คาร์บอน ซัลเฟอร์ การตรึงไนโตรเจน และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินผมก็จะให้ความรู้เรื่อง mycorhiza ที่ผมจับอยู่เพิ่มเข้าไปด้วย ภาคปฏิบัติหลังจากที่นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิควิธีการแยก bacteria rhizobium ที่เป็นเทคนิคพื้นฐานที่นักศึกษาต้องเรียนรู้ก่อน ในการบูรณาการของผมจะทำได้หลังจากปฏิบัติการบทนี้เพื่อให้เด็กมีพื้นความรู้ก่อน เป็นเทคนิคพื้นฐานในการแยก bacteria การใช้อาหาร selective medium และ differential medium แยก bacteriaในถั่ว ผมก็ตั้งประเด็นว่าถ้าผู้เรียนต้องการศึกษาศักยภาพ mycorhiza ในการกระตุ้นการงอกของเมล็ดกล้วยไม้ดินคุณว่าเราจะทำวิจัยความเริ่มต้นจากไหนก่อน เป็นการตั้งโจทย์จากงานวิจัย ก็คงต้องเริ่มต้นจากการแยก mycorhiza จากรากกล้วยไม้ให้ได้ก่อน คล้ายกับการแยก bacteria rhizobium ที่ได้เรียนไปรู้ไปในคราวที่แล้ว แล้วใช้ไปทดสอบศักยภาพในการกระตุ้นต่อไป การให้ผู้เรียนเข้าใจมากขึ้น ได้พานศ.ไปดูกล้วยไม้ที่เรือนกล้วยไม้คณะเกษตร เพื่อให้เด็กรู้จักประเภทกล้วยไม้ให้รู้จัก กล้วยไม้ดิน terrestrial orchid กล้วยไม้อิงอาศัย epiphytic orchid มีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ก่อนที่จะให้เด็กตัดรากกล้วยไม้ดิน เพื่อการทดลอง ผมให้เด็กได้สังเกตกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีนด้วยว่า จะเห็นลูกไม้เล็กๆขึ้นอยู่ที่เกิดได้ก็เพราะมี mycorhiza ในรากของต้นแม่ หากไม่มีเชื้อรานี้เมล็ดจะลีบไม่งอก หลังจากนั้นเด็กจะตัดราก ใช้เทคนิคจากคราวที่แล้วเริ่มด้วยการฆ่าเชื้อที่ผิวราก แล้วนำไปแยกเชื้อ ตามด้วยการตรวจสอบเชื้อที่แยกได้มีการปนเปื้อน ผู้เรียนมีโอกาสได้ทำทุกคน และมีโอกาสได้วิเคราะห์ว่าเชื้อที่แยกได้ของแต่ละคนเป็นเชื้อที่บริสุทธิ์หรือไม่ แต่เด็กไม่สามารถได้นำไปทดสอบศักยภาพการงอกของเมล็ดกล้วยไม้ดิน แต่ผมก็มีภาพที่บันทึกไว้ ให้เด็กได้เห็นการงอกของเมล็ดเป็นระยะ
อ.จินตนา เพชรมณีโชติ: บูรณาการกับพันธกิจการบริการทางวิชาการ ในภาคเรียนที่แล้ววิชาปฏิบัติการจุลชีววิทยา เคยเป็นวิทยากรในโครงการ เรื่องการผลิตน้ำนมแอลมอนด์เพื่อสุขภาพ และได้นำมาใช้ในจุลชีววิทยาในหัวข้อเรื่อง การตรวจนับจุลินทรีย์ในอาหาร มีการผลิตน้ำนมแอลมอนด์ขึ้นมาและมีการตรวจคุณภาพ ดูจุลินทรีย์ที่มีอยู่และการผลิต มีอะไรบ้าง แต่ที่ทำไปไม่ครบลูป เพราะไม่มีแบบประเมินและรายงาน เพราะทำกันในห้องปฏิบัติการ ให้นักศึกษาได้รู้วิธีการตรวจนับจุลินทรีย์
ดร.วิจิตร์ วิโสรัมย์:บูรณาการงานศิลปวัฒนธรรม วิชาชีววิทยาทั่วไปบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช กำหนดให้ ผู้เรียนค้นคว้าศึกษา เรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับ พืช สมุนไพร โดยตั้งหัวข้อว่า พืชสีดีดี ส่วนในสัตววิทยาเด็กสัตวศาสตร์จะมอบโจทย์เรียนรู้ด้วยตนเองที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพขิงผู้เรียนมากขึ้นก็คือเกี่ยวกับพืชรักษาโรคสัตว์ วิธีการเอาพืชมาใช้ในการรักษาโรคสัตว์ได้อย่างไร วิธีการเพื่อให้ได้คุณภาพที่เป็นยาเพื่อใช้ในการรักษา อีกเรื่องหนึ่งเป็นตัวอย่างการใช้งานวิจัยของ อ.รัชดา เรื่องความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในอ่างเก็บน้ำบางพระ นำมาบูรณาการในการเรียนการสอนในบทปฏิบัติการเรื่องระบบนิเวศน์ทางน้ำ โดยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปพัฒนาการบริการทางวิชาการของเด็กให้มีความคิดเริ่มต้นของการทำงานวิจัย วิธีการเก็บตัวอย่าง วิธีการสำรวจ วิธีการวิเคราะห์และสรุปผล ส่วนวิชาพฤกษศาสตร์ในภาคเรียนนี้ มีกิจกรรมให้จัดการเรียนรู้ในห้อง การทำปฏิบัติการโดยให้ผู้เรียนเลือกพืชที่สนใจมาศึกษา ในแต่ละบทปฏิบัติการ ตอนนี้มีที่น่าสนใจก็คือผู้เรียนนำพืชหัวท้องถิ่นจำพวกมัน เอามาศึกษาดูเม็ดแป้ง กรณีนี้ทำให้อาจารย์ได้เห็นว่า เม็ดแป้งที่ได้มาจากพืชแต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน จึงเกิดเป็นโครงการวิจัยในหัวข้อการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเม็ดแป้งของมันท้องถิ่น หรือมันพื้นบ้าน สำหรับปีนี้อีกหนึ่งเรื่อง ส่วนการบูรณาการเข้ากับศิลปวัฒนธรรมในวิชาชีววิทยา กับผู้เรียนหลักสูตร วิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ ก็คือให้ศึกษาเรื่องประเพณีลอยกระทงว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง โดยกำหนดให้ร่วมเรียนรู้และนำเสนอเป็นกลุ่มและให้เข้าร่วมกิจกรรมลอยกระทงด้วย โดยกำหนดกิจกรรมใน มคอ.3 และรายงานผลการเรียนรู้ใน มคอ.5 กลั่นกรอง การบูรณาการงานด้านการเรียนการสอนบูรณาการกับงานอื่นของอ.ประจำได้ทุกพันธกิจตั้งแต่ วิจัย การบริการทางวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรม การบูรณาการต้องพิจารณาความสอดคล้องกับระหว่างพันธกิจตามแผนปฏิบัติงานประจำปี เนื้อหา ผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ