การจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน การจัดการความรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

คณะกรรมการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนได้สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน ที่สนองต่อความแตกต่างของนักศึกษา ทั้งในด้านวิชาการ และสมรรถนะ ก่อเกิดทักษะการเรียนรู้ทั้งคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาอย่างมี ประสิทธิภาพ ดังนี้

1. การวิจัยในชั้นเรียน (classroom action research) ด้วยการใช้การวิจัยในชั้นเรียน ตอบคำถามหรือสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักศึกษา เข้าใจความแตกต่างของนักศึกษา ทั้งในด้านวิชาการ และสมรรถนะ เพื่อปรับกลยุทธ์การสอน ให้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ระหว่างการเรียนการสอน
2. กลยุทธ์การสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางความรู้ ปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1 กลยุทธ์การสอนทางอ้อมด้วยเทคนิคการยกกรณีศึกษา (case studies) ให้ผู้เรียนได้ฝึกวิเคราะห์อภิปราย เพื่อสร้างความเข้าใจแล้วตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา เกิดทักษะการค้นคว้าหาความรู้ การอภิปราย การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา
2.2 กลยุทธ์การสอนแบบกึ่งการสอนทางตรงกับการสอนทางอ้อม ปรับการสอนบางบทเรียนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลางที่ถ่ายทอดสาระวิชาแก่ ผู้เรียนโดยตรงเกิดการเรียนรู้ด้วยการฟัง ด้วย เทคนิคการเรียนการสอนแบบ head – hand – heart โดยให้นักศึกษาที่ฟังบรรยายรวมกลุ่ม นำประโยคจากการบรรยายสู่การโต้แย้ง หาเหตุผลจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ตามด้วยลงมือถ่ายทอดความเข้าใจที่ตกผลึก ผ่านสื่ออย่างง่ายเช่นการวาดภาพ การปั้นดินน้ำมัน หรือการสร้างสื่ออื่นๆ ที่ขยายความคิดและความเข้าใจของตน
2.3 กลยุทธ์การสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลเหมาะสมกับชั้นเรียนที่มีความต่างกัน โดยการจัดกลุ่มย่อยในชั้นเรียนที่เหมาะสม เช่นจัดให้เด็กเรียนเก่งอยู่กลุ่มเดียวกับเด็กเรียนอ่อน จัดการเรียนการสอน ในรูปแบบของโครงงาน กลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย กำหนดกิจกรรมแบบ knowledge sharing ตั้งประเด็นการเรียนรู้ให้เกิดการระดมความคิดนักศึกษาสอนกันเอง โดยอาจารย์ชี้แนะให้ตรงประเด็น เกิดการเรียนรู้ด้วยการระดมความคิด (brain stroming) การเรียนแบบร่วมมือ(co-operative learning) การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม (co-operative problem solving)
2.4 กลยุทธ์การสอนเน้นประสบการณ์ ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ สอนเน้นการวางแผนและนำการเรียนรู้ไปปรับกับบริบทอื่น ได้แก่การทัศนศึกษา (field trip) การบูรณาการกับการวิจัย การบริการทางวิชาการ
2.5 กลยุทธ์การสอนแบบกึ่งอิสระ เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะการเรียนรู้ที่ครบถ้วน ทั้งคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดการสอนโดยเน้นการทำโครงงาน (project- based instruction) แบ่งกลุ่มนักศึกษา กำหนดทักษะที่จะเกิดใช้กระบวนการกลุ่มทำให้เกิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง การรับฟังความคิดของสมาชิกการสรุปสาระสำคัญและการนำเสนอผลงาน และนำสู่ประเด็นการเรียนรู้อย่างอิสระของแต่บุคคลในการสอนที่เน้นวิจัยเป็นฐาน(research based instruction)ที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตร


2.6.เทคนิคให้นักศึกษามีส่วนร่วม พิจารณาและตัดสินคุณค่าทางวิชาการ
3. กลยุทธ์/เทคนิคการสอนเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
3.1 เทคนิคการกำหนดกิจกรรมเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยเฉพาะด้วยการจัดแผนกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาให้ผู้เรียนทั้งหมดรับผิดชอบร่วมกันโดยกำหนดพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมอย่างชัดเจน ผู้สอนสามารถสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมได้ รวมถึงการประเมินผู้ร่วมงานและการประเมินตนเองของนักศึกษาในการทำงาน ตัวอย่าง เช่น โครงการ บวร (บ้าน – วัด – โรงเรียน)
3.2 เทคนิคการใช้ social network เพื่อสร้างทักษะความตรงต่อหน้าที่ ตรงเวลาของนักศึกษาได้ ด้วยการใช้ QR code เป็นเครื่องมือเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน หลีกเลี่ยง/ลดการประเมินที่ไม่เที่ยงตรง
3.3 เทคนิคการกำหนดข้อตกลง ก่อนเริ่มการเรียนการสอน ชี้แจงกติกาการเข้าชั้นเรียน แบ่งเนื้อหา การวัดผล ให้นักศึกษารับทราบในวันแรกเรียนเพื่อให้นักศึกษา รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
3.4 เทคนิคกำหนดชั้นเรียนเป็น save zone ผู้สอนงดการออกคำสั่ง หรือคาดโทษที่ก่อให้เกิดการกระทำที่มีความกลัวเป็นฐานของนักศึกษา เช่นการคาดโทษไม่ทำตัดคะแนน การขู่หากขาดเรียนจะถูกทำโทษ เป็นต้น สร้างบรรยากาศให้นักศึกษารู้สึกอบอุ่นในการเรียนร่วมกับผู้อื่น และมีสำนึกรับผิดชอบการเข้าชั้นเรียนด้วยความสมัครใจ
3.5 เทคนิคให้เกิดทักษะการผสานความรู้ต่างสาขาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม/พฤติกรรมทางสังคม ด้วยกระบวนการกลุ่ม กำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและการคิดดำเนินการเรียน ทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง ร่วมแรงร่วมใจด้วยความเต็มใจ ด้วยการให้ความรู้เรื่องความสุขแบบองค์รวม ในขณะเรียน
3.6 เทคนิคให้ผู้เรียนประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของตนเอง/เพื่อนนักศึกษา ด้วยการทำบันทึก และการปรับปรุงตัวเอง เช่นการบันทึก 5 อ. การบันทึกเรื่อง” ฉันนิสัยไม่ดี” บันทึกความดี รวมถึงการประเมินระดับคุณธรรมจริยธรรมเพื่อนนักศึกษาสมาชิกในกลุ่มด้วยกระบวนการกลุ่ม ทั้งนี้ลดบทบาทผู้สอนให้เป็นผู้สังเกต และเป็นผู้ตัดสินกรณีที่เกิดความขัดแย้ง
4. กลยุทธ์/ เทคนิคการใช้สื่อทาง สังคมเครือข่าย เช่น face book หรือ line เป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียน

ปีการศึกษา 2557

กำหนดเป็นประเด็นเดิมจากปีการศึกษา 2556 คือเรื่องการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและได้ตกลงรายละเอียดของกรอบ กำหนดหัวข้อตัวบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็น ที่เกี่ยวข้อง กระจายเป็น 4 ประเด็นด้วยกันคือ
1. การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสอน ที่เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
3.เทคนิคการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และ
4.การแก้และลดปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน รวมถึงการจัดการความเสี่ยงของการเรียน
คณะกรรมการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนได้สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน ที่สนองต่อความแตกต่างของนักศึกษา ทั้งในด้านวิชาการ และสมรรถนะ ก่อเกิดทักษะการเรียนรู้ทั้งคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาอย่างมี ประสิทธิภาพ ดังนี้

การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
มอบหมายงานกลุ่ม เป็นหัวข้อและออกมาอภิปรายแล้วเล่าสู่ให้เพื่อนฟัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยการถามตอบ
บทเรียนที่เป็นปฏิบัติการให้นักศึกษาเป็นกลุ่มกำหนดการทำงานเองให้เรียนรู้จากการลงมือทำงานเพื่อดูแลแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกันภายในกลุ่มนักศึกษามีโอกาสทำโครงการ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยมีการทำโครงการ มีการนำเสนอในรูป VDO และมีใบงานเปรียบเสมือนแบบสอนใช้การตั้งคำถามในชั้นเรียน ช่วยกันคิด ช่วยกันตอบ การสร้างคำถามก็ตั้งให้ตรงกับการนำไปใช้ในแต่ละสาขาวิชา ให้ทำโจทย์แบบฝึกหัด และนำมาตรวจร่วมกันว่านักศึกษาจะมีปัญหาอะไรใช้การสืบค้นในหัวข้อที่ตนเองสนใจและสอดคล้องกับหัวข้อเรียนให้นำสู่การนำเสนอหน้าชั้น แล้วให้เพื่อนในชั้นเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและสะท้อนคุณภาพของเรื่องราวที่นำเสนอ และเสนอแนะเพื่อพัฒนา
กำหนดให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ วัตถุประสงค์เอง เสนอให้ผู้สอนจัดการให้มีการเรียนรู้ตามที่ผู้เรียนระบุ
กำหนดให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เอง ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามแผนที่กำหนด แล้วถอดการเรียนรู้ที่ได้เพิ่มเติมจากการทำกิจกรรม ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการกำหนดหัวข้อการเรียนรู้โดยแต่ละคนค้นหาหัวข้อที่น่าสนใจแล้วโพสต์ลงเฟสบุ๊กผู้เรียนทั้งหมดจะเป็นผู้คัดเลือกด้วยการลงคะแนนโหวตหัวข้อที่โพสต์กันไว้ทั้งหมด ผู้เสนอหัวข้อที่ได้รับเลือกมากที่สุดจะเป็นผู้นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ

วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
เทคนิคการสอนและการวัดผลทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม

กำหนดน้ำหนักคะแนน เกณฑ์การวัดผล อย่างชัดเจนในแผนการสอน
กำหนดการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิทั้ง 5 ด้าน กำหนดกิจกรรม วิธีการสอน วัดผลสัมฤทธิ์แต่ละด้านตามน้ำหนักคะแนนที่กำหนด


วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทักษะทางปัญญา

1.การทดสอบจะใช้วิธีการสัมภาษณ์
2.ข้อสอบที่ออกเพื่อวัดผลด้านปัญญาเป็นโจทย์ที่ต้องมีการสังเคราะห์
3.ให้มีการอภิปรายเพื่อขยายความและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในห้องเรียน
4.มอบหมายให้สืบค้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ได้รับโดยการมอบหมายให้สืบค้นเพิ่มเติม ประมวลความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดเป็นเหตุเป็นผล
5มีปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เรียน เลือกวิธีการคิดวางแผนเอง ลงมือทำเอง โดยมีอาจารย์ตรวจจากผลงานที่ปรากฏ
6.มอบหมายงานที่ให้ผู้เรียนวางระบบการทำงานเอง วิเคราะห์โจทย์ ใช้ความคิดที่เป็นอิสระ แล้วนำเสนอในชั้นเรียน


วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.กำหนดการเรียนรู้ให้ตรงตามแผนที่กระจายความรับผิดชอบของรายวิชา
2.การเขียนรายงานและการนำเสนองานที่มอบหมาย ประเมินจากการเขียนรายงาน การสืบค้นข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และประเมินจากการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
3.ตรวจประเมินผลงานการใช้ภาษาอย่างเคร่งคัด ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
4.ปลายภาคการศึกษาให้มีการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย มีทั้งการสืบค้นข้อมูลเรื่องที่ผู้เรียนเลือกเองตามที่ตนเองสนใจ บางครั้งกำหนดกรอบในการค้นหาข้อมูล
5.เพิ่มความถี่ให้ผู้เรียนฝึกทักษะจากการนำเสนอมากขึ้น
6.ใช้เทคโนโลยี social net work เช่น facebook หรือการใช้ QR Code ให้เป็นประโยชน์ในด้านการเรียน
7.ปรับช่วงเวลาการมอบหมายงานการสืบค้น การรายงาน การเขียนรายงานที่ปรกติมักเป็นภายภาคการศึกษาให้อยู่ในช่วงระหว่างภาคเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการประเมินและมีโอกาสปรับปรุง
8.ทักษะทางตัวเลข ใช้ข้อมูลที่หลาหลาย ให้ผู้เรียนฝึกเปรียบเทียบเชิงคณิตศาสตร์ เช่นเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
9.ให้รู้จักและใช้ software ที่หลากหลายเช่น excel เพื่อการคำนวณ หรือ prezi ที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้เพื่อการนำเสนอ

วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม
– กำหนดให้แต่ละกลุ่มมีการวางแผนการทำงาน
– กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละคนในกลุ่มอย่างชัดเจน
– จัดกลุ่มเรียนปฏิบัติการ ให้สลับกันทำรายงานในแต่ละสัปดาห์เพื่อให้นักศึกษาได้ช่วยกันทั้งกลุ่ม
– ใช้กิจกรรมแบบTerm project ให้นักศึกษาจับคู่/จับกลุ่มทำร่วมกัน
ประเมินผลงาน, ความก้าวหน้า และพฤติกรรมการทำงานแบบช่วยเหลือ/ร่วมมือกันในกลุ่ม
สังเกตและประเมินพฤติกรรมการทำงาน, ซักถามรายงานของแต่ละกลุ่มในชั้นเรียนเพื่อให้ช่วยกันวิเคราะห์และตอบ ปัญหา


เทคนิคการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
1.เทคนิคการกำหนดโจทย์การเรียนรู้ที่อยู่รอบตัวไม่จำกัดสถานที่ สื่อ เวลาเช่นจากสื่อโฆษณา ห้องสมุด เรียน e-leaning หรือ you-tube บทบาทสมมุติ การเรียนรู้จากเหตุกรณีศึกษา เหตุการณ์สมมุติการวางโจทย์ให้นักศึกษาวางระบบเพื่อให้ได้ผลงานตามโจทย์ที่ตั้งไว้
2.กำหนดกิจกรรมให้เด็กกำหนดการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าจากโฆษณาตามสื่อ
3.กำหนดให้เรียนรู้จากบทบาทสมมุติ
4.ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองด้วยการลงมือทำจริงเช่นให้นศ.นำเครื่องมือไปวัดจริงในโรงงานอุตสาหกรรม
5.ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองจากสถานการณ์จำลอง

เทคนิคการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ครั้งที่ 2 ประเด็นการบูรณาการกับพันธกิจอื่น
การบูรณาการงานด้านการเรียนการสอนบูรณาการกับงานอื่นของอ.ประจำได้ทุกพันธกิจตั้งแต่ วิจัย การบริการทางวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรม การบูรณาการต้องพิจารณาความสอดคล้องกับระหว่างพันธกิจตามแผนปฏิบัติงานประจำปี เนื้อหา ผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ