สรุป ประเด็นที่1 การพัฒนาผลงานวิจัย เพื่อนำไปใช้เผยแพร่ในระดับชาติ

หัวข้อที่ 1 การตั้งประเด็นที่น่าสนใจในการตีพิมพ์

การตั้งประเด็นของงานวิจัยมีความสำคัญต่อการตอบรับจากวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ ผู้วิจัยควรเขียนบทความวิจัยในประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจ (hot issue) ของชุมชนวิชาการ เพราะบทความที่ทันสมัยจะมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูง การตั้งประเด็นวิจัยในบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติสามารถพิจารณาได้จาก

  1. วารสารที่ต้องการตีพิมพ์
    เนื่องจากวารสารแต่ละฉบับมีกรอบของงานวิจัย (theme) ที่ชัดเจน ผู้เขียนควรตั้งประเด็นงานวิจัยให้สอดคล้องกับกรอบงานวิจัยของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์
  2. ขอบเขตของงานวิจัย
    ขอบเขตของงานวิจัยมีความสำคัญในการกำหนดชื่อเรื่องและรูปแบบที่ต้องการนำเสนองานวิจัย ผู้เขียนงานวิจัยควรกำหนดประเด็นวิจัยหรือคำถามวิจัยให้สอดคล้องและคลอบคลุมกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ

    2.1 ชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องต้องกระชับและแสดงถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด ผู้วิจัยอาจเขียนเป็นประโยคคำถามเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ในกรณีของงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ชื่อบทความวิจัยควรมีคำสำคัญที่แสดงตัวแปรตาม (dependent variable) ที่ศึกษา เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นงานวิจัยในลักษณะใด

    2.2 รูปแบบการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนองานวิจัยขึ้นอยู่กับวารสารงานวิจัย การอ่านงานวิจัยที่คล้ายคลึงกับงานวิจัยของผู้วิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยทราบรูปแบบการเขียนงานวิจัย การเรียงลำดับหัวข้อและประเด็นที่จะนำเสนอได้ดีขึ้น

หัวข้อที่ 2    วิธีการเลือกแหล่งตีพิมพ์ที่เหมาะสมกับงานวิจัย

  1.  การเลือกวารสารในการตีพิมพ์ พิจารณาจากวารสารที่มีแนวทาง ขอบข่าย วัตถุประสงค์ หรืองานทดลอง เทคนิค แนวทางการวิจัยที่ตรงกับงานวิจัยของตนเอง โดยขอบข่ายงานตีพิมพ์ของวารสารแต่ละฉบับจะปรากฏอยู่ด้านหน้าและหลังวารสารแต่ละฉบับ  หรืออาจตรวจสอบได้จากเว็บไซด์ของวารสารซึ่งมีคําแนะนําสําหรับผู้เขียนเช่น ประเภทของบทความ รูปแบบการเขียน และรูปแบบการอ้างอิง
  2.  การเลือกตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ พิจารณาโดยการประเมินจากงานวิจัยที่ทำว่ามีความประเด็นที่เป็นที่สนใจที่กำลังมีการตีพิมพ์อยู่ในปัจจุบัน มีการใช้เทคนิคและเครื่องมือที่ทันสมัย มีปริมาณงานมากพอที่จะสามารถตีพิมพ์ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติได้ สำหรับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติควรตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index (TCI) 
  3.  การพิจารณาค่า Impact factor “Impact factor” หมายถึง ดัชนีชี้วัดคุณภาพของวารสารซึ่งวัดจํานวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความในวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิงในแต่ละปี พิจารณาจากคุณภาพของงานวิจัยของตนเอง โดยทั่วไปนักวิจัยใหม่จะเลือกตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact factor ระดับกลาง เมื่อได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในการเขียนเพิ่มมากขึ้นจึงเลือกค่า Impact factor  ที่สูงขึ้น
  4.  การตีพิมพ์ในวารสารที่เป็น E-journal วารสารวิชาการในระดับนานาชาติปัจจุบันส่วนใหญ่มีการจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journals) และรวบรวมทำดัชนีไว้ในฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆมากมาย ซึ่งฐานข้อมูลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับความเชื่อถือ ได้แก่ ISI Web Of Science, Scopus, ScienceDirect  ซึ่งมีการแจ้งผลการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์อย่างรวดเร็ว
  5. การตีพิมพ์โดยการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งมีการตีพิมพ์

บทความวิชาการในวารสารฉบับพิเศษ (Special Issue) 

  • การเลือกแหล่งตีพิมพ์ที่เหมาะสมกับงานวิจัยของตนเองโดยใช้เครื่องมือช่วยเหลือผู้เขียนของสำนักพิมพ์

7.   การเลือกแหล่งตีพิมพ์ผลงานวิจัยจากเครื่องมือช่วยเหลือผู้เขียนของสำนักพิมพ์

    7.1 Elsevier for authors

    Elsevier เป็นบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดีคือ ScienceDirect และ Scopus บนเว็บไซต์ของบริษัทจะมีลิงค์สำหรับให้การสนับสนุนผู้เขียนที่เรียกว่า Elsevier for authors (ดูรายละเอียดที่http://www.elsevier.com/journal-authors/home) ซึ่งมีเครื่องมือที่เรียกว่า Elsevier Journal Finder (ดูรายละเอียดที่ http://journalfinder.elsevier.com/)  วิธีการใช้งาน คือ ให้นำบทคัดย่อและชื่อบทความใส่ลงในกล่องข้อความที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้ แล้วเลือกเพื่อค้นหาวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของ Elsevier โดยเลือกหาวารสารตามสาขาวิชา หรือเฉพาะวารสารที่เป็น open access ก็ได้ ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงวารสารที่เหมาะสมที่สุด และยังให้ข้อมูลระยะเวลาในการประเมินบทความ (editorial times) อัตราการตอบรับบทความ (acceptance rate) ระยะเวลาในการตีพิมพ์ (production times)  ค่า impact factor ความถี่ในการตีพิมพ์ และรูปแบบการตีพิมพ์เพื่อประกอบการพิจารณา และสามารถดู aim and scope ของวารสารได้จากหน้าแสดงผลนี้ หรือจะไปดูที่หน้าเว็บไซต์ของวารสารก็ได้

7.2 Springer Journal Selector

          Springer เป็นบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์หลักที่รู้จักกันดีคือ SpringerLink บนเว็บไซต์ของบริษัทจะมีลิงค์สำหรับให้การสนับสนุนผู้เขียนที่เรียกว่า Journal Author Academy (ดูรายละเอียดที่http://www.springer.com/gp/authors-editors/journal-author/journal-author-academy)     ซึ่งมีเครื่องมือที่เรียกว่า Springer Journal Selector(ดูรายละเอียดที่ http://www.springer.com/gp/authors-editors/journal-author/journal-author-helpdesk/preparation/1276#c1258) วิธีการใช้งาน คือ ให้นำบทคัดย่อหรือรายละเอียดบทความใส่ลงในกล่องข้อความที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้ แล้วเลือกเพื่อค้นหาวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของ SpringerLink โดยเลือกค้นหาเฉพาะวารสารที่มีค่าimpact factor หรือ open access ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงวารสารที่เหมาะสมที่สุด และให้ข้อมูลค่า impact factor ความถี่ในการตีพิมพ์ และรูปแบบการตีพิมพ์เพื่อประกอบการพิจารณา

อ้างอิงจาก วสุ ปฐมอารีย์. การคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์.  [online] เข้าถึงจากhttp://cmupress.cmu.ac.th/index.php/component/k2/item/79:2557

หัวข้อที่ 3    การวิเคราะห์งานวิจัยเพื่อนำไปสู่การตีพิมพ์

          เพื่อที่จะตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารชั้นนำ สิ่งที่ควรคำนึงถึงควรเริ่มต้นจาก งานวิจัยมีความเหมาะสมหรือไม่ ที่จะลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวาสารนั้นๆ ต้องเป็นงานวิจัยที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น ไม่เคยมีการตีพิมพ์งานแบบเดียวกันนี้มาก่อน หรืออาจวิจัยเป็นครั้งแรกในภูมิภาค หรือในประเทศ   การตั้งชื่องานวิจัยควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เพื่อสื่อและดึงดูดผู้อ่าน ส่วนการกำหนดวัตถุประสงค์นอกจากจะต้องชัดเจน ควรสอดคล้องกับความต้องการ หรือโจทย์วิจัยในปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งการเขียนวิจารณ์จะแสดงถึงความเป็นเหตุเป็นผล สามารถชี้ให้เห็นถึงจุดที่น่าสนใจของผลลัพธ์ที่ได้เป็นการแสดง หรือเน้นถึงประโยชน์ของงานวิจัย

หัวข้อที่ 4    ปัญหาด้านเวลาสำหรับเขียนงานตีพิมพ์

          การเขียนงานวิจัยสำหรับการตีพิมพ์ ต้องอาศัยเวลาในการเขียน และการศึกษาเอกสารในส่วนทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันจุดอ่อน ปรับปรุงแก้ไขงาน ทำให้ได้งานที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งนักวิจัยพบปัญหาด้านเวลา เนื่องมาจากภาระงานที่ต้องทำ ได้แก่ งานสอน การเข้าประชุม การเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในระดับสาขา คณะ และมหาวิทยาลัย จึงเป็นอุปสรรคต่อการจัดสรรเวลาเพื่อเขียนงานวิจัย เงื่อนไขเกณฑ์การเบิกค่าสอนเกินที่ผูกติดกับการทำวิจัย ทำให้อาจารย์ที่มีภาระงานสอนมาก ต้องทำวิจัยด้วยในช่วงเวลาเดียวกัน จึงเป็นไปได้ยากที่จะสามารถจัดสรรเวลาเขียนงานวิจัยที่เสร็จแล้วเพื่อตีพิมพ์  นอกจากนั้น ระบบการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนของคณะ ไม่อำนวยต่อการผลิตผลงานวิจัย เนื่องจากมีความล่าช้า ไม่คล่องตัว ขาดประสิทธิภาพในการประสานงานกับหน่วยงานอื่น

หัวข้อที่ 5    การคัดลอกงานวิจัย

          กว่าจะเขียนงานวิจัยให้เป็นเล่มรายงาน หรือ เป็นบทความเพื่อการตีพิมพ์ก็ยากในระดับหนึ่งแล้ว  

แต่สิ่งที่นักวิจัยทุกคนต้องตระหนักและให้ความสำคัญในระหว่างการเขียนก็คือการเขียนทั้งหมดควรมีที่มาจาก ความรู้ที่เราได้รับหรือพัฒนามางานวิจัย การเขียนด้วยภาษาและสำนวนของตัวเอง โดยทั้งรายงานหรือ บทความนั้นต้องปราศจากการคัดลอก   

          การคัดลอกงานวิจัยเป็นความผิดหรือไม่และทำไมถึงเป็นประเด็นทางจรรยาบรรณของนักวิจัยที่ต้อง มีการตรวจสอบกันทั้งระดับชาติและนานาชาติ  ก่อนที่จะตอบคำถามอยากให้นักวิจัยทราบความหมายของการ คัดลอกก่อน การคัดลอก (Plagiarism) คือ การนำผลงานของคนอื่นมาใส่หรือรวมไว้ในงานตัวเองด้วยวิธีการที่ ไม่ถูกต้อง หรือ การขโมย หรือ การนำผลงานหรืองานเขียนของคนอื่นมาใส่ในงานเขียนของตัวเอง หรือ การ ทำให้คนอื่นเชื่อว่าผลงานงานนี้เป็นผลงานของตัวเอง    

          เมื่อการคัดลอก คือ การนำผลงานคนอื่นมาใส่ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องหรือขโมยนั้นเราจะพบงานในลักษณะนี้จะไม่มีการอ้างอิงเอกสารหรือแหล่งความรู้  โดยการอ้างถึงเรื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งผู้เขียนไม่ได้ค้นพบหรือ ทดลองได้ด้วยตนเอง การอ้างลักษณะนี้ต้องมีเอกสารอ้างอิง ซึ่งการคัดลอกในลักษณะนี้มักเกิดขึ้นได้ง่าย ดังนั้น ตอนเขียนให้หมั่นตรวจทานและพยายามถามตัวเองตลอดว่าเรื่องนี้เรารู้ได้อย่างไร ควรอ้างอิงอย่างไร  

          การคัดลอกที่พบบ่อยกว่า คือ การยกประโยค หรือ คำพูดมาใช้  ซึ่งในประเด็นนี้ถือว่าการนำคำพูด จากเอกสารอื่นมาเกิน 4 คำ แม้ว่ามีการอ้างอิง ให้ถูกนับว่าเป็นการคัดลอก ดังนั้นการยกตารางหรือแผนภาพ จากรายงานผู้อื่นมาใช้ในรายงานของตัวเองเลยจึงเป็นการคัดลอกด้วย แต่ถ้านักวิจัยมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูล จากตารางหรือแผนภาพนั้น ควรนำมาเขียนใหม่หรือเรียงใหม่ให้เป็นการน าเสนอด้วยสำนวนของตัวเองพร้อม กับการอ้างอิงที่ถูกต้องและครบถ้วน    

          ส่วนการคัดลอกด้วยการใช้งานของคนอื่นมาเปลี่ยนเป็นชื่อของเรานั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดเป็น 

อย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นการขโมยและผู้ทำจะกลายเป็นโจรทางวิชาการ  ส่วนการทำวิจัยแล้วเรื่องที่ทำไปซ้า กับคนอื่นไม่ได้ถือว่าเป็นการลอกผลงาน ถ้าผู้ทำไม่ได้จงใจและไม่ได้นำเอาเนื้อหา ข้อมูลและผลงานของผู้อื่นมา ใช้ เช่น นายสำเนาได้รายงานการวิจัยเรื่องการขยายพันธุ์แมลงหวี่ที่ตึกปฏิบัติการกลาง ปรากฏว่าชื่อผลงานไป คล้ายกับนายสำคัญที่รายงานเรื่องการขยายพันธุ์แมลงหวี่ที่จังหวัดนครปฐม เมื่อตรวจสอบเนื้อหาด้านในพบว่า วิธีการและจุดประสงค์เดียวกัน มีแตกต่างที่กลุ่มตัวอย่างเท่านั้น ในกรณีนี้ถือว่านายสำเนาลอกผลงานของนายสำคัญ   

          การคัดลอกในกรณีสุดท้าย คือ การคัดลอกงานตัวเอง ซึ่งการคัดลอกด้วยวิธีนี้เป็นการคัดลอกที่ ผู้วิจัยรู้ตัวเองดีแต่มักจะคิดว่านี้เป็นงานของเรา การนำเรื่องหรือรูปจากงานวิจัยที่หนึ่งไปใส่ในงานวิจัยที่สองนั้น ไม่สามารถทำได้ควรใช้รูปใหม่หรือเปลี่ยนวิธีเขียนใหม่  ไม่ควรใช้ของเก่าที่เคยเผยแพร่แล้วนั้นเอง การคัดลอกงานวิจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ บางท่านอาจเคยทำมาบ้างแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ประเด็นนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยให้ยึดคำสอนว่าให้เกรงกลัวและละอายแก่บาป